กลับมาแล้วครับก่อนถึงตอนที่ ๓ ผมขออนุญาติเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจ ที่ข้อความว่า พระราชชายาฯ มีพระธิดาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี นั้น เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ครับ และอีกตอนที่บอกว่า พระบิดาโปรดให้มีพิธีโสกันต์ นั้นแสดงว่าพระราชชายา เมื่อยังทรงพระเยาว์ปฏิบัติตามธรรมเนียมของภาคกลางคือไว้จุก ถ้าหากสันนิฐาน ผู้ที่ไว้จุก หน้าจะเป็นชนชั้นเจ้านาย และคหบดีของเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น แสดงถึงอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามามีบทบาทใน ชาวล้านนา ซึ่งตามความนิยมในสมัยก่อนหญิงชาวล้านนานิยมไว้ผมยาวและเกล้ามวยผมตั้งแต่เด็กจนถึงวันชรา และมีการประดับผมด้วย ปิ่น ดอกไม้ไหว(ดอกไม้ที่ทำด้วยเงิน หรือทองมักเป็นเหมือนดอกไม้จริงเช่น ดอกเอื้องผึ้ง กระดังงาเป็นต้น) หรือนิยมใช้ดอกไม้หอมและเป็นมงคล เช่นดอกเอื้องผึ้ง ดอกตาเหิน(มหาหงส์) ดอกเก็ดถะหวา(พุดซ้อน) ดอกมะลิ ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นการบูชาขวัญหัวของตนเองครับ เอาล่ะครับเริ่มออกไปไกลแล้ว มาต่อถึงพระประวัติ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในหนังสือพระราชประวัติ ต่อเลยครับ
ตอนที่ ๓ หน้าที่ ๓ และหน้าที่ ๔
ครั้นณวันจันทร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๓ เหนือ ตรงกับวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พระพุทธสักราช ๒๔๒๙ ปีจอ ได้ตามพระบิดาลงไปเฝ้าทุลละอองธุลีพระบาทณกรุงเทพ ฯ แล้วเลยอยู่รับราชการฉลองพระเดชพระคุณฝ่ายในเป็นเจ้าจอม ได้ โปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชเป็นการรับรองด้วย เมื่อประสูติพระราชธิดาแล้วโปรดเกล้าให้เลื่อนถานาศักดิ์เป็นพระสนมเอก ปลาย พ.ศ. ๒๔๕๑ คราวเสด็จกลับมาเยี่ยมนครเชียงใหม่ครั้งแรก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาพระอิสสริยยศเป็นพระราชชายา พระองค์มีความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเจ้านายในราชจักรีวงศ์ และได้ทรงปฏิบติหน้าที่เป็นที่ต้องพระราชหฤทัยแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเป็นอย่างดียิ่ง นอกจากนั้นยังทรงปฏิบัติให้เป็นที่ทรงพระเมตตาของเจ้านายในราชจักรีวงศ์ และเป็นที่รักใคร่นับถือของเจ้าจอมอื่น ๆ ตลอดถึงข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั่วไปอีกด้วย เหตุทั้งนี้จึงทำให้เจ้านายฝ่านเหนือมีโอกาสได้สนิทสนมกับเจ้านายในราชจักรีวงศ์ และข้าราชการทั่วไปอีกชั้นหนึ่ง.
ป้ายด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ เปิด ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ๑๐.๓๐ น.ถึง ๑๕.๓๐ น. เชิงสะพานนวรัฐ ฝั่งตะวันออก
วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553
พระประวัติ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี
พระประวัติ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี
จากตอนที่หนึ่งซึ่งเจ้าแก้วนวรัฐฯ ได้ อรัมภบท เป็นการบอกวัตถุประสงค์ในการจัดทำหนังสือเล่มนี้ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ อุทิศส่วนกุศล ให้พระราชชายา เจ้าดารารัศมีแล้ว ยังพิมพ์เพื่อมอบให้ผู้ที่มาร่วมงานพระเมรุ จะได้ไม่ลืมในพระราชชายาฯ ผมจึงถามคุณยายว่าใครที่ไปร่วมงานนี้และได้รับแจกมา ก็ได้คำตอบว่าหน้าจะเป็นคุณทวดบัวเขียว เลาวพงศ์ ซึ่งเป็นน้องของคุณทวดฮัวฮง เลาวพงค์ ซึ่งเป็นพ่อของคุณตาที่เป็นสาวและขอคุณตาบุญเจริญ(ซุ่นเฮง) เลาวพงศ์มาเลี้ยงเป็นลูก เพราะคุณทวดบัวเขียวจะสนิทสนมกับเจ้านายฝ่ายเหนือและไปมาหาสู่กันเสมอๆ และท่านเป็นคนกว้างขวางชอบอ่านหนังสือและเก็บหนังสือไว้เป็นจำนวนมาก ตอนนี้มาทราบถึงพระประวัติพระราชายา เจ้าดารารัศมี จากหนังสือเส่มนี้กันเลยครับ
ตอนที่ ๒ หน้าที่ ๑
พระประวัติ
พระราชชายา เจ้าดารารัศมี
พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ประสูติณวันอังคาร เดือน ๑๐ เหนือ (เดือน๘ใต้) ขึ้น ๔ ค่ำ ปีระกา เวลา ๐๓.๐๐ น. เศษ ตรงกับวันที่ ๒๖ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๑๖ ที่คุ้มหลวงกลางเมืองนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งดรงเรียนยุพราชวิทยาลัยเวลานี้ พระองค์ท่านอุบัติในสกุลณเชียงใหม่ เป็นหน่อเนื้อเชื้อพระเจ้าผู้คองนครทั้งสองฝ่าย ดังปรากฏตามสายปฐมวงศ์ต่อไปนี้
สายปฐมวงศ์
พระยาสุรวฦไชยสงคราม (ทิพจักร์)___________________แม่เจ้าพิมลา
|
___________________
|
เจ้าฟ้าชายแก้ว________แม่เจ้าจันตา
|
__________________________________
| |
พระเจ้ากาวิละ ฯ_______แม่เจ้าโนจา , เจ้าหลวงเศรษฐี (คำฝั้น)_____________แม่เจ้าตาเวย
ครองนครเชียงใหม่ | ครองนครชียงใหม่ |
_________| _________________
| |
พระเจ้ากาวิโรส ฯ _______แม่เจ้าอุสาห์ , เจ้าราชวงศ์ (คำคง) ______________แม่เจ้าคำหล้า
ครองนครเชียงใหม่ | นครเชียงใหม่ |
|____ _________________|
| |
แม่เจ้าทิพเกษร______พระเจ้าอินทวิชยานนท์
| ครองนครเชียงใหม่
พระราชชายา ฯ
พระราชชายาฯ มีเชษฐ แลพระเชษฐภคินี ดังนี้
๑. เจ้าน้อย โตน วายชนม์แล้ว (บิดาเจ้ารถแก้ว)
๒. เจ้าราชวงศ์ (น้อยขัตียะ) วายชนม์ _
(บิดาเจ้าบุษบา) | ร่วมอุทรเดียวกัน
๓. เจ้านางคำข่าย วายชนม์ _|
๔. เจ้าแก้วผาบเมือง วายชนม์ _
(บิดาเจ้าอุ่นเรือน) | ร่วมอุทรเดียวกัน
๕. เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์(น้อยสุริยะ) |
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ที่ ๘ _
๖. เจ้าแก้วนวรัฐ ฯ (เจ้าแก้ว) | ร่วมอุทรเดียวกัน
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ที่ ๙ |
๗. เจ้าจอมจันทร์ วายชนม์ _|
๘. เจ้านางคำห้าง วายชนม์
๙. เจ้านางจันทร โสภา วายชนม์ _
| ร่วมอุทรเดียวกัน
๑๐. พระราชชายาฯ _|
พระราชชายา ฯ มีพระธิดาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี สิ้นพระชนม์เมื่อพระชัณษาได้ ๔ พรรษา
มื่อพระราชชายา ฯ ทรงพระเยาว์ ได้ทรงศึกษาอักษรไทยเหนือ ไทยใต้ และทรงเข้าพระทัยในขนบธรรมเนียมขัติยประเพณีเป็นอย่างดี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ พระชนมายุย่างเข้า ๑๑ พรรษาเศษ พระบิดาโปรดให้มีพิธีโสกันต์และมีมหกรรมอย่างครึกครื้น คราวนั้นพระยาราชสัมภารากร เปนข้าหลวงประจำเชียงใหม่ได้ช่วยเป็นธุระในงานโสกันต์ตลอด ภายหลังเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ขึ้นมาทรงจัดตั้งตำแหน่งเสนาทั้งหก ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระกุณฑลประดับเพ็ชร์มาพระราชทานเป็นของขวัญด้วย และได้ โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้นางเต็ม เป็นแม่นางกัลยารักษ์ ให้นายน้อยบุญทา เป็นพญาพิทักษ์เทวี ตำแหน่งพี่เลี้ยงทั้งสองคนตั้งแต่ครั้งนั้น
จบตอนที่ สอง หน้าที่สาม
ตอนที่ ๒ หน้าที่ ๑
พระประวัติ
พระราชชายา เจ้าดารารัศมี
พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ประสูติณวันอังคาร เดือน ๑๐ เหนือ (เดือน๘ใต้) ขึ้น ๔ ค่ำ ปีระกา เวลา ๐๓.๐๐ น. เศษ ตรงกับวันที่ ๒๖ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๑๖ ที่คุ้มหลวงกลางเมืองนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งดรงเรียนยุพราชวิทยาลัยเวลานี้ พระองค์ท่านอุบัติในสกุลณเชียงใหม่ เป็นหน่อเนื้อเชื้อพระเจ้าผู้คองนครทั้งสองฝ่าย ดังปรากฏตามสายปฐมวงศ์ต่อไปนี้
สายปฐมวงศ์
พระยาสุรวฦไชยสงคราม (ทิพจักร์)___________________แม่เจ้าพิมลา
|
___________________
|
เจ้าฟ้าชายแก้ว________แม่เจ้าจันตา
|
__________________________________
| |
พระเจ้ากาวิละ ฯ_______แม่เจ้าโนจา , เจ้าหลวงเศรษฐี (คำฝั้น)_____________แม่เจ้าตาเวย
ครองนครเชียงใหม่ | ครองนครชียงใหม่ |
_________| _________________
| |
พระเจ้ากาวิโรส ฯ _______แม่เจ้าอุสาห์ , เจ้าราชวงศ์ (คำคง) ______________แม่เจ้าคำหล้า
ครองนครเชียงใหม่ | นครเชียงใหม่ |
|____ _________________|
| |
แม่เจ้าทิพเกษร______พระเจ้าอินทวิชยานนท์
| ครองนครเชียงใหม่
พระราชชายา ฯ
พระราชชายาฯ มีเชษฐ แลพระเชษฐภคินี ดังนี้
๑. เจ้าน้อย โตน วายชนม์แล้ว (บิดาเจ้ารถแก้ว)
๒. เจ้าราชวงศ์ (น้อยขัตียะ) วายชนม์ _
(บิดาเจ้าบุษบา) | ร่วมอุทรเดียวกัน
๓. เจ้านางคำข่าย วายชนม์ _|
๔. เจ้าแก้วผาบเมือง วายชนม์ _
(บิดาเจ้าอุ่นเรือน) | ร่วมอุทรเดียวกัน
๕. เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์(น้อยสุริยะ) |
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ที่ ๘ _
๖. เจ้าแก้วนวรัฐ ฯ (เจ้าแก้ว) | ร่วมอุทรเดียวกัน
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ที่ ๙ |
๗. เจ้าจอมจันทร์ วายชนม์ _|
๘. เจ้านางคำห้าง วายชนม์
๙. เจ้านางจันทร โสภา วายชนม์ _
| ร่วมอุทรเดียวกัน
๑๐. พระราชชายาฯ _|
พระราชชายา ฯ มีพระธิดาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี สิ้นพระชนม์เมื่อพระชัณษาได้ ๔ พรรษา
มื่อพระราชชายา ฯ ทรงพระเยาว์ ได้ทรงศึกษาอักษรไทยเหนือ ไทยใต้ และทรงเข้าพระทัยในขนบธรรมเนียมขัติยประเพณีเป็นอย่างดี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ พระชนมายุย่างเข้า ๑๑ พรรษาเศษ พระบิดาโปรดให้มีพิธีโสกันต์และมีมหกรรมอย่างครึกครื้น คราวนั้นพระยาราชสัมภารากร เปนข้าหลวงประจำเชียงใหม่ได้ช่วยเป็นธุระในงานโสกันต์ตลอด ภายหลังเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ขึ้นมาทรงจัดตั้งตำแหน่งเสนาทั้งหก ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระกุณฑลประดับเพ็ชร์มาพระราชทานเป็นของขวัญด้วย และได้ โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้นางเต็ม เป็นแม่นางกัลยารักษ์ ให้นายน้อยบุญทา เป็นพญาพิทักษ์เทวี ตำแหน่งพี่เลี้ยงทั้งสองคนตั้งแต่ครั้งนั้น
จบตอนที่ สอง หน้าที่สาม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)