วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คุณยายเล่าให้ฟัง

   เมื่อวานผมขับรถจากเชียงใหม่เพื่อจะไปกรุงเทพฯกับคุณแม่ วันนี้เราออกจากเชียงใหม่มาสายขับมาถึงบ้านตากคุณแม่ก็พูดถึงเมืองแหงซึ่งเป็นบ้านของญาติทางฝ่ายคุณยาย คุณยายเคยเล่าให้ฟังว่าบ้านของญาติพี่น้อง จะอยู่ติดริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก เป็นเรือนไม้ซึ่งบ้านเรามักเรียกว่าเฮือนแป คือเรือนไม้ชั้นเดียวและชั้นครึ่งที่ด้านหน้ามีบานประตูพับ (บานเสี้ยม) เปิดออกและพับได้ด้านหน้าจะติดกับถนนด้านหลังติดแม่น้ำปิงซึ่งในสมัยก่อนด้านหลังเป็นด้านหน้าโดยบ้านแบ่งเป็นสามตอน ด้านหน้ามักเป็นหน้าร้านเปิดขายของ ส่วนกลางจะเป็นครัวและที่กินข้าว ด้านหลังจะเป็นโถงโล่งสำหรับเก็บและขนถ่ายสินค้าจากเรือหางแมงป่อง ซึ่งจะเทียบท่าด้านหลังบ้านที่ทำยื่นออกไปในแม่นำปิง บางครั้งก็จะใช้เป็นที่ซักผ้าอีกด้วย ระหว่างเรือนด้านหน้าและเรือนอีกสองหลังจะมีชานไม้ต่อเชื่อมระหว่างกันโดยตลอดเป็นที่วางโอ่งน้ำและปลูกต้นไม้กระถาง ส่วนหลังข้างหน้าจะมีบันไดขึ้นบนชั้นสองซึ่งจะมีห้องนอนของคุณทวด และหอพระและหอบรรพบุรุษ อยู่ส่วนหน้าของเรือนที่แยกออกต่างหาก ส่วนห้องนอนลูก ๆจะอยู่ด้านล่างห้องหลังของเรือนซึ่งด้านหน้าเป็นร้านค้า บ้านของคุณทวดพ่อคุณยายจะนำผ้าแพรพรรณมาจากทางกรุงเทพฯ เมื่อคิดถึงคำคุณยายเล่าผมก็ถามคุณแม่ว่าเคยมาบ้านญาติแถวเมืองแหงนีไหมคุณแม่ก็พยักหน้าบอกเคยมาเมื่อตอนเล็น ๆนานมาแล้ว นั่งเรือมาขึ้นที่ท่าหลงบ้านของญาติ ติดริมแม่น้ำปิง ผมจึงลองเลี้ยงรถเข้าไปตามถนนเลียบริมแม่นำปิงที่จังหวัดตาก ก็ได้เห็นบ้านผู้คนริมแม่น้ำปิงที่ยังคงเค้าสภาพเดิมอยู่บ้างถามคุณแม่ว่าจำได้ไหมคุณแม่ตอบว่าจำไม่ได้แล้วลูกเพราะนานมาแล้วแต่ก็มีลักษณะคล้าย ๆที่เห็นอยู่นี้ ส่วนด้านตรงกันข้ามที่ไม่ติดน้ำปิงก็จะเป็นบ้านทรงไทยภาคกลางหลงเหลือซึ่งส่วนมากก็ทรุดโทรมลงไปมากแล้ว หลายหลัง ได้ลองพูดคุยกัยคนแก่ที่แถวนั้น ก็จะตรงกับที่คุณยายเล่าให้ฟังว่าเป็นเขาพูดภาษาภาคกลางผสมภาคเหนือสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ถึงปัจจุบัน ซึ่งถ้าหากพิจารณาจากหลักฐานบ้านเรือน ก็ทำให้สามารถยืนยันได้ว่าชาวเมืองแหงนี้เป็นคนไทยภาคกลางที่ได้อพยพทำมาค้าขายตามริมแม่น้ำปิงจากอยุธยามาอยู่อาศัยยังเมืองแหงและค้าขายขึ้นไปจนส่วนหนึ่งไปอยู่ที่เวียงป่าซางและไปอยู่แถวย่านวัดเกตของเชียงใหม่ในที่สุด ซึ่งยังคงเป็นญาติเครือกันแต่เนื่องด้วยลูกหลานไม่ได้ติดต่อกันจึงขาดหายกันไปจนไม่สามารถสืบต่อญาตินอกจากประวัติที่รวบรวมและเล่าต่อกันมาในสายญาติและสิ่งของเครื่องใช้ แม้แต่พระพุทธรูปบูชาที่ได้รับสืบทอดกันมาซึ่งเป็นจารีตของคนภาคกลางที่บุชาพระพุทธรูปซึ่งคนภาคเหนือในแผ่นดินล้านนาในอดีตจะไม่นำพระพุทธรูปบูชาบนบ้านและรับส่วนนี้มากจากภาคกลางซึงหน้าจะมาจากการอพยพค้าขายของกล่มชนภาคกลางที่ขึ้นมาไม่เกินกว่าสองร้อยปีนี้เอง ซึ่งแม้แต่คุณยายผมเองก็ยังทำอาหารไทยภาคกลาง และพูดภาษากลางที่ผสมกับคำเหนือบ้างเล็กน้อย ซึ่งคงเป็นภาษาของชาวเมืองแหง จนท่านเสียชีวิตไปในปี ๒๕๓๘ นี้เอง.

MUSEUM BENJAPON: พิธีกะติเกยา เดือนสิบสอง

MUSEUM BENJAPON: พิธีกะติเกยา เดือนสิบสอง: " ในเดือนสิบสอง ยังมีพระราชพิธีอีกหลายพระราชพิธีที่มีมาแต่รัชกาลก่อนในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งผมจะอัญเชิญม..."

พิธีกะติเกยา เดือนสิบสอง

   ในเดือนสิบสอง ยังมีพระราชพิธีอีกหลายพระราชพิธีที่มีมาแต่รัชกาลก่อนในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งผมจะอัญเชิญมาดังนี้
หน้าที่ ๑๗ ถึงหน้าที่ ๑๙

     การพระราชพิธีกะติเกยา ตามคำพระมหาราชครูพิธี ได้
กล่าวว่า การพระราชพิธีนี้แต่ก่อนได้ทำในเดือนอ้าย แต่
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เลื่อนมาทำในเดือน
สิบสอง การซึ่งจะกำหนดทำพระราชพิธีเมื่อใดนั้น เปนพนักงาน
ของโหรต้องเขียนฎีกาถวาย ในฎีกานั้นว่าโหรมีชื่อได้คำณวนพระ
ฤกษ์ พิธีกะติเกยากำหนดวันนั้น ๆ พระมหาราชครูจะได้ทำ
พระราชพิธีนั้น ๆ ลงท้ายท้าว่าจะมีคำทำนาย แต่ไม่ปรากฏ
ว่าได้นำคำทำนายขึ้นมากราบเพ็ดกราบทูลอันใดต่อไปอีก ชรอย
จะเปนด้วยทำนายดีทุกปีจนทรงจำได้ แล้วรับสั่งห้ามเสีย ไม่ให้
ต้องกราบทูลแต่ครั้งใดมาไม่ทราบเลย การซึ่งพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่อนพิธีมาทำในเดือนสิบสองนั้น
คือกำหนดเมื่อพระจันทร์เสวยฤกษ์กฤติกาเต็มบริบูรณ์เวลาไร เวลา
นั้นเปนกำหนดพระราชพิธี การซึ่งทรงกำหนดเช่นนี้ก็จะแปลมาจาก
ชื่อพิธีนั้นเอง การที่พระมหาราชครูพิธีว่าเมื่อก่อนทำเดือนอ้านนั้น
เปนการเลื่อนลงมาเสียดอก แต่เดิมมาก็ทำเดือนสิบสอง ครั้น
เมื่อพิธีตรียัมพวายเลื่อนไปทำเดือนยี่แล้ว การพิธีนี้จึงเลื่อนตาม
ลงไปเดือนอ้าย เพราะพิธีนี้เปนพิธีตามเพลิงคอยรับพระเปนเจ้าจะ
เสด็จลงมา ดูเปนพิธีนำน่าพิธีตรียัมพวาย ที่พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้กลับขึ้นไปทำเดือนสิบสองนั้นก็
เพราะจะให้ถูกกับชื่อพิธีดังที่ว่ามาแล้ว พระราชพิธีนีคงตกอยู่
ในระหว่างกลางเดือนสิบสอง เคลื่อนไปข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้าง
เล็กน้อย คงจะเกี่ยวกับพระราชพิธีจองเปรียงอยู่เสมอ การที่
ทำนั้นคือปลูกเกยขึ้นที่น่าเทวสถานสามเกย สถานพระอิศวรเกย ๑
สถานมหาวิฆเนศวรเกย ๑ สถานพระนารายน์เกย ๑ เกยสูง ๔
ศอกเท่ากัน ที่ข้างเกยเอามูลโคกับดินผสมกันก่อเปนเขาสูงศอก
หนึ่งทั้ง ๔ ทิศ เรียกว่าบัพพโต แล้วเอาหม้อใหม่ ๓ ใบถักเชือก
รอบนอกเรียกว่าบาตรแก้ว มีหลอดเหล็กวิลาดร้อยไส้ด้ายดิบ
เก้าเส้น แล้วมีถุงเข้าเปลือกถั่วงาทิ้งลงไว้ในหม้อนั้นทั้ง ๓ หม้อ
แล้วเอาไม้ยาว ๔ ศอกเรียกว่าไม้เทพทณฑ์ปลายพันผ้าสำหรับชุบ
น้ำมันจุดไฟ ครั้นเวลาค่ำพระมหาราชครูพิธีบูชาไม้เทพทณฑ์แล
บาตรแก้ว แล้วอ่านตำหรับจุดไฟในบาตรแก้ว แล้วรดน้ำสังข์
จุณเจิมไม้นั้น ครั้นจบวิธีแล้วจึงได้นำบาตรแลไม้เทพทณฑ์
ออกไปที่น่าเทวสถาน เอาบาตรแก้วตั้งบนหลักริมเกย เอาปลาย
ไม้เทพทณฑ์ที่หุ้มผ้าชุบน้ำมันจุดไฟพุ่งไปที่บัพพโตทั้ง ๔ ทิศ เปน
การเสี่ยงทาย ทิศบูรพาสมมุติว่าเปนพระเจ้าแผ่นดิน ทิศทักษิณ
สมมุติว่าเปนสมณะพราหมณ์ ทิศประจิมว่าเปนอำมาตย์มนตรี
ทิศอุดรว่าเปนราษฏร พุ่งเกยที่หนึ่งแล้วเกยที่สองที่สามต่อไป
จนครบทั้งสามเกยเปนไม้สิบสองอัน แล้วตามเพลิงในบาตรแก้วไว้
อิกสามคืน สมมุติว่าตามเพลิงคอยรับพระเปนเจ้าจะเสด็จลงมา
เยี่ยมโลกย์ เมื่อพุ่งไม้แล้วกลับเข้ามาสวดบูชาเข้าตอกบูชาบาตร
แก้วที่จุดไฟไว้น่าเทวสถานทั้ง ๓ สถาน ต่อนั้นไปอีกสองวันก็ไม่
มีพิธีอันใด วันที่สามนำบาตรแก้วเข้าไปในเทวสถาน รดน้ำ
สังข์ดับเพลิงเปนเสร็จการพระราชพิธี
       การพระราชพิธีกะติเกยานี้ เปนพิธีพราหมณ์แท้ แลเหตุผล
ก็เลื่อนลอยมาก จนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่รู้ที่จะ
ทรงเติมการพิธีสงฆ์ฤาแก้ไขเพิ่มเติมอันใดได้ แต่เปลี่ยนกำหนด
ให้ถูกชื่ออย่างเดียว คงอยู่ด้วยเปนพิธีราคาถูกเพียง ๖ บาท
เท่านั้น ฯ
    
      ตามในพระราชนิพนธ์นี้เปนพิธีพราหมณ์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์ถึงขั้นตอนในการทำพิธีและของที่โดยละเอียด ตามความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นำเสนอหน้าจะเปนความเชื่อในการบูชาที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อเรื่อพระอัคคีที่เป็นสื่อระหว่างมนุษย์กับเทพพระเจ้าทั้งสามถ้าหากได้ทราบถึงข้อความในการอ่าน"ตำหรับ" ของพระมหาราชครู ซึ่งถ้าหากท่านผู้ใดทราบข้อความกรุณาแจ้งให้ทราบด้วยเพื่อเปนวิทยาทานแก่ผู้ที่สนใจ และมีความชัดเจนในพิธีนี้มากขึ้น เพราะในพิธีพราหมณ์ยังมีพิธีเกี่ยวกับไฟอีกมากเช่นพิธีโหมกูณ เป็นต้นซึ่งจะนำมาเสนอต่อไปครับ

        

การ์เรียนเชิญเปิดและชมนิทรรศการ

การ์เรียนเชิญเปิดและชมนิทรรศการ
นิทรรศการตั้งแต่ ๑๕ พย.ถึง ๑๕ ธค.นี้

In this photograph if you know please tell me where they are ?

In this photograph if you know please tell me where they are ?
ภาพถ่ายชุดนี้ คุณพ่อผมถ่ายไว้เป็นจำนวนมากเมื่อ ไปอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณ หกสิบ ถึงเจ็ดสิบปีมาแล้ว ท่านเสียชีวิตไปปี ๒๕๑๓ เอกสารบางอย่างถูกน้ำถ่วมและสูญหาย ทำให้ไม่ทราบถึงสถานที่ในภาพ ถ้าหากท่านทราบกรุณาบอกผมด้วยขอบคุณครับ

In this photograph if you know pleas tell me where they are ?

In this photograph if you know pleas tell me where they are ?
รูปแกะสลักนี้ตั้งอยู่ที่ไหนครับทราบโปรดบอกด้วยครับขอบคุณครับ

Please tell me where they are ?

Please tell me where they are ?
รูปเหล่านี้เป็นเทพฯของอียิปต์ยุกต์โบราณ

Please tell me where they are ?

Please tell me where they are ?
หน้าจะเป็นเทพฯ หรือ ราชินีองค์หนึ่งในอียิปต์โบราณ ถ้าสรวมหมวกรูปบัลลังก์ จะป็นเทพไอซิส

Please tell me were they are ?

Please tell me were they are ?

Please tell me where they are ?

Please tell me where they are ?

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู้หัว

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู้หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพุทธเจ้าหลวง พระปิยมหาราช เทิดพระเกียรติในวาระ ๑๐๐ ปี วันสวรรคต ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓ (มีบทความด้านล่าง)

พระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมศพประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
๑๑๐ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์มิรู้ลืม ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า นายเบญจพล สิทธิประณีต.

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระโอรสธิดา

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระโอรสธิดา
สมเด็จย่าทรงกับพระโอรสธิดาครั้งทรงพระเยาว์

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐรามาธิบดินทร รัชการที่ ๘ สมเด็จย่า ฯ พระอนุชา

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐรามาธิบดินทร รัชการที่ ๘ สมเด็จย่า ฯ พระอนุชา
ในหลวงรัชการที่ ๘ สมเด็จย่า และพระอนุชา (ในหลวงรัชกาลที่ ๙)

ทรงงาน

ทรงงาน
พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ ๙ และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงงาน

สมเด็จแม่ฯ

สมเด็จแม่ฯ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙

สูจิบัตร นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๑๐๙ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์ มิรู้ลืม

สูจิบัตร นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๑๐๙ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์ มิรู้ลืม
นิทรรศการ ๑๐๙ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์ มิรู้ลืม ณ.ศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์(แพ บุนนาค) งานเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐๙ ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ (มีรูปงานนิทรรศการด้านล่าง)

My collection-ภาพเก่าเล่าอดีต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

My collection-ภาพเก่าเล่าอดีต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จพระราชดำเนินวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่(พ.ศ.2501)

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)
เสด็จพระราชดำเนินวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)
ทั้งสองพระองค์บริเวณบันไดนาควัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่

พระบัวเข็ม

พระบัวเข็ม
พระบัวเข็ม ที่บ้านจะมีจานเชิงใส่นำรองอยู่ด้านล่างองค์พระซึ่งทำจากไม้ลงรักปิดทอง

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
Tn the town by Vimol Siddhipraneet.

The way of life in u.s.a.

The way of life in u.s.a.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A

The way of life in U.S.A
In the town.

ภาพถ่ายในสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายในสหรัฐอเมริกา
ถ่ายโดย คุณพ่อวิมล สิทธิประณีต.เมื่อครั้งไปสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา
คุณพ่อวิมล สิทธิประณีต.ถ่าย เมื่อทำงานสำนักข่าวสารอเมริกัน

ภาพถ่ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
คุณพ่อวิมล สิทธิประณีต.ถ่าย ล้าง และอัดเอง ท่านมีห้องมืดที่บ้าน.