วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

พระราชพิธีเดือนสาม

 ก่อนอื่นต้องขออภัยท่านที่ติดตามก็เนื่องด้วยช่าวนี้ผมกำลังปรับปรุงบ้านเพื่อจะเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ทำให้ไม่มีเวลาที่จะเข้ามานำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ตอนนี้ก็ยังคงไม่เสร็จตามกำหนด แต่กลัวว่าท่านที่ติดตามจะไม่เข้ามาจึงได้พยายามจะนำเสนอพระราชพิธีต่าง ๆ ให้ทันเดือนแต่บางพระราชพิธีนั้นมีรายละเอียดยาวมากเช่นพระราชพิธีตรียัมพวายตรีปวาย ถ้าผู้ใดสนใจผมจะส่งให้ทางต่างหากเพราะถ้าลงจะกินเนื้อที่มาก จึงจะพยายามนำพระราชพิธีที่มีเนื้อหาสั้น ๆ มานำเสนอให้ทันกับเวลาและเหตุการณ์น่ะครับ อย่างวันนี้ใกล้ตรุศจีน ก็จะนำการพระราชกุศลเลี้ยงพระตรุศจีน ในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ ดังนี้ครับ หน้าที่ ๑๒๙ ถึง หน้าที่ ๑๓๒

   การนี้เกิดขึ้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ด้วยทรงพระปรารภของซึ่งพวกจีนนำมาถวายในตรุษจีน เปน
ของสดสุกรเป็ดไก่พร้อมกันหลาย ๆ คน มาก ๆ จนเหลือเฟือ ก็
ควรที่จะให้เปนไปในพระราชกุศล จึงได้โปรดให้มีเลี้ยงพระสงฆ์
ที่พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยขึ้นทั้งสามวัน แต่ไม่มีสวดมนต์ พระ
สงฆ์ฉันวันละ๓๐รูปเปลี่ยนทุกวัน ตามคณะกลาง คณะเหนือ คณะ
ใต้ โปรดให้พระบรมวงษานุวงษ์ แลท้าวนางข้างในจัดเรือนขนม
จีนมาจอดที่หน้าตำหนักแพ พวกภรรยาข้าราขการผู้ใหญ่ ๆ ที่ทรงรู้
จักเคยเฝ้าแหนก็จัดเรือขนมจีนมาถวายผลัดเปลี่ยนเวรกันไปทั้งสาม
วัน ตัวก็มาเฝ้าด้วย แล้วให้ทนายเลือกกรมวังคอยรับขึ้นมา
ถวายพรสงฆ์ฉัน แล้วจึงได้เลี้ยงข้าราชการต่อไป พระสงฆ์
ฉันแล้วถวายสบงผืนหนึ่ง หมากพลูธูปเทียนกับใบชาห่อหนึ่ง แต่
วิธีอนุโมทนาของพระสงฆ์ในการตรุศจีนนี้ ไม่เหมือนกันทั้งสาม
วันแต่ไหนแต่ไรมา ลางวันก็มีสัพพะพุทธา ลางวันก็ไม่มี แต่
เห็นว่าเปนการพระราชกุศลตามธรรมเนียมเช่นนี้ โดยจะไม่มี
สัพพะพุทธาก็ไม่เปนการขาดเหลืออันใดทั้งมีแลไม่มี แลในการ
ตรุศจีนจ่ายเงินให้ซื้อปลาปล่อยวันละ ๑๐ ตำลึงบรรทุกเรือมาจอด
อยู่ที่แพลอย เวลาทรงพระเต้าษิโณทกแล้วโปรดให้พระเจ้าลูก
เธอนำลงไปรดที่เรือปลา แล้วตักปลานั้นปล่อยไปน่าที่นั่ง
       ครั้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รับสั่งว่า
การที่ทำบุญตรุศจีนเลี้ยงขนมจีนนั้นไม่ใช่ของจีน เปนแต่สักว่าชื่อ
เปนจีน ให้ทำเกาเหลาที่โรงเรือนยกเข้ามาเลี้ยงพระสงฆ์แทนขนมจีน
เปนของหัวป่าชาวเครื่องทำ แล้วทรงสร้างศาลหลังคาเก๋งขึ้นที่น่า
พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยศาลหนึ่ง ให้เชิญเทวรูปแลเจว็ดมุกในหอ
แก้วลงไปตั้ง มีเครื่องสังเวยทั้งสามวัน อาลักษณ์อ่านประกาศเปน
คำกลอนลิลิตตามเนื้อความของคาถายานี แลขอพรข้างปลาย
เปนการเทวพลีให้เข้าเค้าอย่างเส้นข้างจีน ที่พระพุทธรูปก็มีเครื่อง
เส้นอย่างจีนตั้งเพิ่มเติมเข้าพระด้วย แลให้มีโคผูกต่างบรรทุกของ
ถวายตรุศจีน คือแตงอุลิต ขนมเข่ง กระเทียมดอง สิงโตน้ำ
ตาลทราย ส้ม เปนต้นวันละ ๓ โถ ถวายพระราชาคณะผู้ใหญ่ซึ่ง
นำฉัน โคนั้นบรรทุกของแล้วยืนถวายตัวที่โรงเรือนริมทางเสด็จ
แต่โคบางตัวก็บรรทุกได้ครึ่งหนึ่งบ้าง ค่อนหนึ่งบ้าง บางตัวก็
บรรทุกไม่ได้เลย ที่ประทับอยู่ข้างตวันตกริมน้ำ เพื่อจะได้ทอดพระเนตร
ทางแม่น้ำสดวก ครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว รับสั่งว่าธรรมเนียมซึ่งจะตั้งที่ประทับต้องอยู่ข้างพระราชวัง
สำหรับที่จะหนีง่ายตามแบบเก่าที่เตรียมหนีมากกว่าเตรียมสู้ ซึ่ง
เคยทรงเยาะเย้ยธรรมเนียมต่าง ๆ มีผูกพระคชาธารให้เปนเงื่อน
กระทกเปนต้น แต่ธรรมเนียมเช่นนั้นลงเปนแบบแผนใช้มาช้านาน
แลธรรมดาเจ้าของบ้านเจ้าของเรือน ก็คงจะต้องรับแขกอยู่น่าประตู
ที่จะเข้าเรือน หันน่าออกข้างนอก ผู้ซึ่งมาหาก็ต้องมาจากภาย
นอกหันหน้าเข้าข้างใน จึงรับสั่งให้เปลี่ยนพระสงฆ์ไปนั่งทางตวัน
ตก ทอดที่ประทับทางตวันออก ใช้มาจนตลอดรัชกาล ครั้นถึง
แผ่นดินประจุบันนี้ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงษ์ท่านเห็น
ว่า ซึ่งที่ประทับมาอยู่ข้างในนั้น ไม่เปนทางที่จะเห็นน้ำเห็นท่าให้
เปนที่สบาย จึงได้ขอกลับเปลี่ยนไปอย่างแผ่นตอนพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แลขอให้มีเรือขนมจีนขึ้นอย่างเก่า ให้
ภรรยาของท่านแลเจ้าพระยาทิพาการวงษ์ จัดขนมจีนมาถวายแล
มาเฝ้าเหมือนอย่างแต่ก่อน ในการตรุศจีนสมเด็จเจ้าพระยาอยู่
ข้างจะเปนธุระเห็นสนุกสนานมาก ตัวท่านเองก็อุสาห์มาเฝ้าพร้อม
กับขุนนางทั้ง ๓ วันทุก ๆ ปีมิได้ขาดเลย เพราะเปนการเวลาเช้า
ถูกอารมณ์ท่านด้วย เพราะฉนั้นการเลี้ยงตรุษจีนจึงได้มีขุนนาง
ผู้หลักผู้ใหญ่มาพรักพร้อมแน่นหนากว่าพระราชพิธีฤาการพระราช
กุศลอื่น ๆ แต่เรื่องเกาเหลาเลี้ยงพระนั้น เปนของที่อันเหลือที่
จะอัน, แล้วผู้ทำก็ล้มตายหายจากกร่อย ๆ ลงก็เลยละลายหาย
ไปเอง คงอยู่แต่เรือขนมจีนจนทุกวันนี้ ที่พระสงฆ์นั่งนั้นภายหลัง
มาก็กลายเปนอย่างแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ด้วยครั้งนั้นท่านทรงตัดสินธรรมเนียมทอดที่ลงไว้เปนแบบอย่างเสีย
แล้ว ผู้จัดการทั้งปวงก็ต้องวนลงหาแบบนั้นเปนหลักฐาน
    การตรุศจีนนี้มีในเดือนยี่บ้าง เดือนสามบ้าง ตามอย่าง
ประดิทินจีนเขาจะตัดสินวันใดเปนปีใหม่ แลการภายหลังนี้มีเพิ่ม
เติมขึ้นมาในพระยาโชฎึกราชเศรษฐี และพระยาสวัสดิวามดิฐเดื๋ยว
นี้ จัดเครื่องโต๊ะอย่างจีนมาตั้งเลี้ยงเจ้านายปีแรกที่เก๋งพุทธ
รัตนสถาน ครั้นต่อมาก็เปนอันเลี้ยงที่ท้องพระโรง ในเวลาบ่าย
วันเชงเหมงนั้นตลอดมาจนทุกวันนี้
     คำตักเตือนในการตรุศจีน ในการเลี้ยงพระตรุศจีน นอก
จากพระเต้าษิโณทกที่เปนโรคสำหรับตัวมหาดเล็ก ก็ยังมี
เทียนชนวนที่สำหรับพระราชทานพระเจ้าลูกเธอไปจุดเทียนสังเวย
เทวดา มหาดเล็กต้องคอยเชิญเสด็จฤาตามเสด็จไปด้วย อนึ่ง
เมื่อพระราชทานน้ำพระเต้าษิโณทก ให้พระเจ้าลูกเธอไปปล่อยปลา
มหาดเล็กต้องเชิญเสด็จฤาตามเสด็จลงไปที่แพลอยระวังรักษาพระ
เจ้าลูกเธอ ภูษามาลาต้องถวายพระกลดองค์น้อย นอกนั้นก็
ไม่สู้มีอันใดขาดเหลือนัก ฯ

        ในพระราชนิพนธ์นี้จะเห็นได้ว่าไม่ได้มีพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับ
การไหว้เจ้าตามธรรมเนียมจีนเลย เป็นการเฉลิมฉลองอย่างเดียว
ซึ่งคงเป็นไปอย่างไทย คือมีเลี้ยงพระ ปล่อยปลา เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย

  พระราชพิธีนี้มีในเดือนยี่ตามพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ไว้อย่างละเอียด อีกมาก  หน้าที่ ๘๕ ถึงหน้าที่ ๘๖
            
          ความมุ่งหมายของการพิธีตรียัมพวายที่ทำนี้ ว่าพระอิศวร
เปนเจ้าเสด็จลงมาเยี่ยมโลกปีละครั้ง ครั้งหนึ่งกำหนด ๑๐ วัน วัน
เดือนอ้ายขึ้น ๗ ค่ำเป็นวันเสด็จลง แรมค่ำ ๑ เปนวันเสด็จกลับ ต่อ
นั้นในวันค่ำ ๑ พระนารายน์เสด็จลงมา แรม ๕ ค่ำเสด็จกลับ การที่
เลื่อนมาเดือนยี่เกินกำหนดซึ่งเสด็จลงมาแต่ก่อนก็จะไม่เปนการยาก
อันใด ด้วยพราหมณ์ย่อมถือตัวว่าเปนผู้ถือประแจสวรรค์คล้ายกัน
กับโป้ป เมื่อไม่อ่านเวทเปิดประตูถวายก็เสด็จไม่ได้อยู่เอง การ
ซึ่งรับรองพระอิศวรนั้นก็จัดการรับรองให้เปนการสนุกครึกครื้นตาม
เรื่องราวที่กล่าวไว้ คือมีเทพยดาทั้งหลายมาเฝ้าประชุมพร้อมกัน
เปนต้นว่า พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระธรณี พระคงคา ซึ่งพราหมาณ์
ทำเปนแผ่นกระดานมาฝังไว้น่าชมรม โลกบาลทั้งสี่ก็มาเล่นซอ
คัสโล้ชิงช้าถวาย พระยานาคฤาเทพยดาว่ากันเปนสองอย่างอยู่
ก็มารำเสนงพ่นน้ำฤาสาดน้ำถวาย บรรดาในการพระราชพิธีตรียัม
พวายส่วนพระอิศวรนั้น เปนการครึกครื้น มีผู้คนไปรับแจกเข้า
ตอกเข้าเม่าที่เหลือจากสรวงสังเวยเปนสวัสดิมงคล แต่ส่วนการ
พระราชพิธีตรีปวายของพระนาราย์นั้นทำเปนการเงียบ ด้วยพระ
องค์ไม่โปรดในการโซไซเอตี มีพื้นเปนโบราณอยู่ตามที่ได้กล่าว
มาแล้ว ความมุ่งหมายของการพระราชพิธีมีความานิยมดัง
กล่าวมานี้

        ในพระราชนิพนธ์ตอนนี้เป็นการอธิบายเหตุที่มีการจัดพิธีนี้ และสังเกตว่ามีการใช้ภาษาอังกฤษทับศัพท์เข้าไปด้วย ครับ.

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

ระลึกถึง เพลงเก่า ๆ

วันพรุ่งนี้เป็นวันเด็ก มานั่งคิดถึงวันเวลาที่ผ่านมา ช่างนานเสียเหลือเกิน วันเด็กในสมัยผมเป็นเด็ก มักจะขออนุญาติคุณแม่ไปที่ วิทยาลัยเทคนิคตีนดอย เพราะพวกพี่ ๆมีกิจกรรมที่เสริมสร้างความรุ้ เช่นการวาดรูป การปั้นดิน แกะสลักไม้ และที่สำคัญมีการประกวดร้องเพล ซึ่งมักจะให้เลือร้องเพลงใดเพลงหนึ่งคือ เด็กเอ๋ยเด็กดี และเพลงหนูเอย ซึ่งทั้งสองเพลงมีความหมายที่ดีและซิมซับในจิตใจและเปนแนวทางการดำเนินชิวิตมาถึงปัจจุบัน เพลงที่มีความยาวมากและข้อนข้าร้องยากคือเพลงหนูเอย แต่งคำร้อง โดยคุณแก้ว อัจฉริยะกุล ทำนอง คุณเวส สุนทรจามร ซึ่งมีเนื้อร้องกินใจดังต่อไปนี้

 หนูเอยหนูจงฟัง 
พี่จะสอนพี่จะสั่งหนูจงฟังเอาไว้ให้ดี
หนูเอยสมัยนี้
เป็นสมัยที่เอาดีกันด้วยปัญญา
หนูอย่าซุกซน
จงอดจงทนหนูจงบ่นท่องวิชา
ในภายภาคหน้า จะได้พึ่งวิชาปัญญาจะเฟื่องฟู
หนูเอยหนูจงเพียร
หนูจงเล่าหนูจงเรียนหนูจงเพียรหาความรู้
หนูเอยจงคิดดู
หากมีใครลบหลู่แล้วหนูจะโทษใคร
หนูเร่งเร็วพลันจงบากและจงบั่นหนูจงหมั่นอย่าท้อใจ
หนูเอยจะบอกให้
ปลูกปัญญาเอาไว้เรียนไปให้เชี่ยวชาญ
หนูเอยอย่าเกเร
หนู่อย่าเที่ยวหนูอย่าเตร่อย่าเสเพลประพฤติพาล
หนูเอยอย่าเกียจคร้าน
หมั่นเล่าเรียนเขียนอ่านคบพาลจะเสียคน
หนูกอบการดีเป็นศักดิ์และเป็นศรี
ทั้งเป็นที่น้อมกมล
หนูจะไม่อับจน
แต่จงเลือกคบคนแล้วตนจะรุ่งเรือง
หนูเอยหนูฟังว่า
เพราะสติปัญญานั้นจะพาให้กระเดื่อง
หนูเอยชาติบ้านเมือง
จะเจริญฟุ้งเฟื่องก็เนื่องด้วยเด็กไทย
แม้ชาติต่างแดนมาหมิ่นหรือมาแคลน
หนูไม่แค้นบ้างหรือไร
บ้านเมืองเจริญได้
อยู่ที่เด็กของไทย มิใช่ใครอื่นเลย

 เพลงนี้มีความหมายมากมายถ้านำไปพิจารณาและดำเนินรอยตามปัจจุบันมีเด็กไทยสักกี่คนที่ทำตามได้อย่างนี้ อยากรู้จัง.

พระราชพิธีเดือนยี่

   พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ในพระราชนิพนธ์สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู้หัวต่อจากตอนที่แล้วดังนี้ หน้าที่ ๘๓ หน้าที่ ๘๕

   เมื่อจะว่าด้วยความประพฤติของพระเปนเจ้าทั้งปวง ซึ่งผู้อยู่
ในประเทศใดแต่งคัมภีร์ พระเปนเจ้าก็ประพฤติพระองค์เปนคน
ชาตินั้น ดังเช่นกล่าวมาแล้วนั้น พระอิศวรของพราหมณ์ที่อยู่ใน
กรุงสยามนี้ประพฤติพระองค์เปนอย่างชาวอินเดีย คือไม่เสวยเนื้อ
สัตว์ โปรดเข้าเม่า,เข้าตอก.กล้วย,อ้อย.มะพร้าว,เผือก,มัน,นม,
เนย, ตามที่พวกพราหมณ์ในประเทศอินเดียกินเปนอาหารอยู่ แล
ถือกันว่าพระอิศวรนั้นเปนพระคุณ คือเปนผู้ที่จะสงเคราะห์เทพยดา
มนุษย์ยักษ์มารทั่วไป ไม่มีที่จะลงโทษแก่ผู้ใด โดยจะต้อง
ทำบ้างก็เปนการจำเปนโดยเสียไม่ได้ หลงๆ ลืมๆ เช่นครั้งปราบ
ตรีบุรำเปนต้น เมื่อแผลงศรไปไม่สำเร็จแล้วก็ไม่ตั้งความเพียรที่จะ
ทำต่อไป มอบธุระให้พระนารายน์เสียทีเดียว โดยว่ามักจะทรง
กริ้วโกรธสนมกำนัลที่มีความผิดเล็กน้อยในการปฎิบัติวัดถากมีจุด
ตะเกียงเปนต้น ก็ยังทรงพระเมตตาให้มีกำหนดพ้นโทษ แลให้
เปนประโยชน์แก่การเรื่องอื่น มีให้เปนเมียหณุมานเปนรางวัล แล
บอกหนทางพระรามเปนต้น เพราะพระอิศวรเต็มไปด้วยความกรุณา
ไม่เลือกว่าคนดีฤาคนชั่ว เพราะใครไปตั้งพิธีรีตองจะขออันใด
ก็ได้สมปรารถนา จะไปดีฤาชั่วตามแต่ตัวผู้ได้ไป เพราะพระไทย
ดีมีพื้นอันใหม่อยู่เปนนิจดังนี้ จึงได้มีพระนามปรากฎว่าพระคุณ
    ส่วนพระนารายน์มีพระอาการตามที่กล่าวว่า เมื่ออยู่ปรกติ
เสมอย่อมบรรธมอยู่ในกลางทเลน้ำนมเปนนิตย์ ต่อเมื่อเวลาใดมี
การอันใดซึ่งพระอิศวรจะต้องการ รับสั่งใช้ให้ไปปราบปรามผู้ซึ่ง
ประทุษร้ายแก่โลกย์ทั้งปวงจึงได้ปลุกขึ้นมา เพราะฉนั้น พระนารายน์
จึงเปนแต่ผู้ทำลาย ที่สุดโดยปลุกขึ้นมาเพื่อการมงคลเช่นโสกันต์
พระขันธกุมาร ก็ทรงขัดเคืองบริภาษจนพระเศรียรพระขันธกุมาร
หายไป พระอิศวรต้องซ่อมแซมแก้ไขด้วยศีศะช้าง เพราะเหตุ
ฉนั้นจึงมีคำกล่าวว่าพระนาราย์ย่อมไม่ประสิทธิพรอวยสวัสดิมงคล
แต่สักครั้งหนึ่งเลย ที่สุดจนเครื่องบูชาในเวลาพระราชพิธีตรีปวาย
ก็ห้ามไม่ให้นำมาถวายด้วยกลัวพิศน์ จะแจกให้แก่ผู้ดีมีหน้าก็
ไม่ได้ ต้องแจกให้แก่ยาจกวรรณิพก แลถือกันว่าถ้าวันแรม ๕ ค่ำ
ซึ่งเปนวันส่งพระนารายน์นั้นต้องวันพิศน์ มักจะเกิดเหตุตีรันฟัง
แทงกันชุกชุม ( เพราะเดือนมืดคนไม่ใคร่ไปดู ) พราหมณ์ทั้งปวง
ต้องระวังกันเปนกวดขัน เพราะพระนารายน์เปนพนักงานแต่ล้าง
ผลาญเช่นนี้ จึงได้มีนามปรากฎว่าพระเดช เปนคู่กันกับพระคุณ
    ส่วนพระมหาวิฆเนศนั้น คือพระขันธกุมารซึ่งพระเศียร
เปนช้าง เปนพระโอรสพระอิศวรพราหมณ์ย่อมนับถือโดย
ฤทธิเดชของพระองค์เองบ้าง โดยจะให้ถูกพระไทยพระอิศวรเปน
การสัพพีบ้าง จึงเปนพระเปนเจ้าอีกองค์หนึ่ง
   เทวสถานซึ่งเปนของสำหรับพระนครจึงทำเปนสามสถาน
สถานหนึ่งพระอิศวร สถานกลางพระมหาวิฆเนศวร อีกสถานหนึ่ง
พระนารายณ์ การพระราชพิธีตรียัมพวายแลตรีปวายนี้ ทำที่เทว
สถานทั้งสามนั้น

         ครับยังคงมีรายละเอียดอีกมากติดต่ามต่อไปน่ะครับ.

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย

       ผมนำพระราชนิพนธ์ในล้นเกล้ารัชการที่ ๕ พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวายมาเสนอต่อ ดังนี้ หน้าที่ ๘๑ ถึงหน้าที่ ๘๓

       แต่ถึงว่าสาสนาทั้งสามเปนสาสนาเดียวกันก็ดี ข้อความที่
ลงกันอยู่ก็แต่เหตุผลที่เปนรากง่าว แต่วิธีที่จะบูชาเส้นสรวงแล
อาการความประพฤติของพระพระเปนเจ้านั้น ย่อมเปลี่ยนแปลงยักเยื้อง
กันไปตามความประพฤติที่จะเข้าใจง่ายในประเทศนั้น แลตาม
สำนวนคนในประเทศนั้น ๆ ตกแต่งเรียบเรียงขึ้น ก็บรรดาคัมภีร์
สร้างโลกย์ทั้งปวงย่อมกล่าวกิจการซึ่งพระเปนเจ้าได้ทำนั้นแปลก
ประหลาดต่าง ๆ ตามแต่จะว่าไป ที่ไม่น่าทำไปทำก็มี ที่ควร
จะทำได้เร็วไปทำช้า การที่เห็นว่าน่าจะต้องทำช้าไปทำได้เร็ว ๆ
การที่ไม่พอที่จะวุ่นวายไปได้ต่าง ๆ การที่ไม่พอที่จะเพิก
เฉยก็เพิกเฉย จะยกหยิบเรื่องมาอ้างก็จะยักไห้ยืดยาวหนักไป จะขอ
ย่นย่อข้อความลงตามความประสงค์ในเหตุที่จะกล่าวบัดนี้ว่า บรรดา
หนังสือเรื่องใด ๆ ซึ่งเปนของแต่งไว้แต่โบราณ ผู้แต่งย่อมมีความ
รู้แลวิชาน้อย ด้วยยังไม่มีเวลาที่ได้ทดลองสืบสวนเทียบเคียงการ
เท็จจริงให้ตลอดไป มุ่งหมายแต่ความดีอย่างหนึ่ง แล้วก็แต่ง
หนังสือตามเรื่องราวตามชอบใจของตนซึ่งคิดเห็นว่าจะเปนเหตุชักล่อใจ
คนให้นับถือมากขึ้น แล้วจะได้เชื่อฟังคำสั่งสอนในทางที่ดีซึ่งเปน
ที่มุ่งหมาย มิใช่จะกล่าวมุสาโดยไม่มีประโยชน์ จึงเห็นว่าไม่
เปนการมีโทษอันใด เมื่อคิดเห็นเช่นนั้นแล้วจะเรียบเรียงหนังสือ
ลงว่ากะไรก็เรียงไปตามชอบใจไม่คิดเห็นว่าคนภายหลังจะมีวิชา
ความรู้มากขึ้นจะคัดค้านถ้อนคำของตน ฤาแม้แต่เพียงนีกสงไสย
ประการใดไม่ ความคิดของคนแต่ก่อนเช่นนี้ใช่ว่าจะเปนการผิด
ไปทีเดียว ด้วยเหตุว่ามนุษย์ทั้งปวงในเวลานั้น ก็ย่อมมีความ
รู้ความเห็นน้อยกว่าผู้ที่แต่งหนังสือนั้น ต้องเชื่อถือหนังสือนั้นว่า
เปนความจริงความดีสืบลูกหลานต่อ ๆ มา ถึงว่าลูกหลานต่อลง
มาภายหลังจะนึกสงไสยสนเทห์บ้าง ก็เปนความผิดใหญ่ที่จะหมิ่น
ประมาทต่อความประพฤติของพระเปนเจ้า แต่ผู้ซึ่งจะไม่คิดเลย
เพราะนับถือเสียตั้งแต่เกิดมานั้นมีโดยมาก น้อยก็คงต้องสู้
มากไม้ได้อยู่เปนธรรมดา เพราะฉนั้นคัมภีร์สาสนาพราหมณ์ ฤา
พระยะโฮวา พระอ้าหล่า จึงมีเรื่องราวแลถ้อยคำ              อยู่
ในนั้นทุก ๆ ฉบับ  คำซึ่งข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไปภายน่านั้น บาง
ทีจะดูเหมือนล้อ ๆ พระเปนเจ้าบ้าง จึงขอแสดงความประสงค์
ไว้เสียแต่เบื้องต้นว่าข้าพเจ้าไม่ได้ติดจะยกข้อทุ่มเถียงว่าพระ
เปนเจ้ามีฤาไม่ในเรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้ เปนอันยกเว้นเสียไม่กล่าว
ถึงในข้อนั้นทีเดียว เพราะใช่กาละที่จะกล่าวถึงแลจะทุ่มเถียงกัน
ในเวลานี้ ถ้าจะเปนคำหมิ่นประมาทบ้างก็ไม่ได้คิดหมิ่นประหลาดใน
ถ้อยคำของผู้ที่แต่งเรื่องราวอันไม่ยุติด้วยเหตุด้วยผล เพราะเปน
การล่วงเวลาที่ควรจะใช้จึงเปนการขบขันไปบ้างเท่านั้น เมื่อท่าน
ทั้วปวงได้จำถ้อยคำที่กล่าวนั้ไว้แล้วจงอ่านเรื่องราวต่อนี้ไปเถิด

    ในพระราชนิพนธ์ช่วงนี้ก็ทรงกล่าวถึงเหตุผลที่ทรงพระราชนิพนธ์ในย่อหน้าก่อน ๆ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจ ถึงพระราชประสงค์ครับ.

พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย

  ในเดือนยี่มีพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีรายละเอียดมากด้วยทรงกล่าวถึงตั้งแต่ประวัติความเชื่อความเป็นมา และที่บางท่านอ่านอาจจะมีบางประโยคที่ไม่สบายใจ ก็ขอใหทราบว่าพระราชนิพนธ์นี้ใช้ภาษาพระราชนิพนธ์ภาษาตรัสแบบโบราณซึ่งถ้าในขณะนั้นเป็นคำธรรมดาที่ใช้กันอยู่แต่เมื่อวันเวลาเปลี่ยนไปจนปัจจุบันคำหรือประโยคเหล่านั้นอาจเป็นภาษาที่ข้อนข้างแรง ขอให้ท่านโปรดเข้าใจตามนี้ เพราะเป็นความลำบากใจมากผมคิดอยู่หลายตลบว่าจะนำมาเผยแพร่หรือไม่ แต่เมื่อเป็นพระราชนิพนธ์ถ้าหากข้ามไปก็คงขาดเนื้อความที่สมบูรณ์ จึงขออัญเชิญมาทั้งทุกเกือบพระอักษร ครับ หน้าที่ ๗๗ ถึงหน้าที่ ๘๑

       การพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย
   การพระราชพิธีตรียัมพวาย ซึ่งเปลี่ยนมาแต่เดือนอ้าย
การพิธีนี้ซึ่งกำหนดทำในเดือนอ้าย คงจะเปนเหตุด้วยนับเปลี่ยนปี
เอาต้นฤดูหนาวเปนปีใหม่ของพราหมณ์ ตามเช่นแต่ก่อนเราเคยใช้
มา แต่การที่เลื่อนเปนเดือนห้านั้นจำไว้ชี้แจงต่อเมื่อว่าถึงสงกรานต์
การที่เลื่อนมาเปนเดือนยี่นี้ก็ได้กล่าวแล้วในคำนำ บัดนี้จะขอกล่าว
ตัดความแต่เพียงตรียัมพวายตรีปวายนี้เปนพิธีปีใหม่ของพราหมณ์
ตรงกันกับพิธีมะหะหร่ำของพวกแขกเจ้าเซน นับเปนทำบุญตรุศ
เปลี่ยนปีใหม่ จึงเปนพิธีใหญ่ของพราหมณ์
   พราหมณ์พวกซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพ ฯ บัดนี้ ก็เปนเทือกเถา
ของพราหมณ์ซึ่งมาแต่ประเทศอินเดีย แต่ในขณะแต่ก่อนเมือง
นครศรีธรรมราชเปนเมืองใหญ่ข้างฝ่ายใต้ เรือลูกค้าไปมาค้าขาย
อยู่ทั้งสองฝั่งทเล คือข้างฝั่งนี้เข้าถึงเมืองนครศรีธรรมราช ข้าง
ฝั่งตวันตกเข้าทางเมืองตรัง พราหมณ์จึงได้เข้ามาที่เมืองนครศรี
ธรรมราชมาก แล้วจึงขึ้นมาถึงกรุงเทพ ฯ เปนการสดวกดีกว่าที่
จะเดินผ่านเขตรแดนพม่ารามัญ ซึ่งเปนปัจจามิตรของกรุงเทพ ฯ
ตั้งสกัดทางอยู่ข้างฝ่ายเหนือ เพราะฉนั้นเชื้อพราหมณ์ในเมือง
นครศรีธรรมราชไม่มีสิ้นสุดจนถึงบัดนี้ มีเทวสถาน มีเสาชิงช้า
ซึ่งพราหมณ์ยังคงทำพิธี แต่เปนอย่างย่อ ๆ ตามมีตามเกิด เช่น
พิธีตรียัมพวายเอาแต่กระดานขึ้นแขวนเปนสังเขปเปนต้น ที่เข้ามา
อยู่กรุงเทพ ฯในชั้นหลัง ๆ นี้ก็มีโดยมาก จนพูดสำเนียงเปน
ชาวนอกอยู่ก็มี เช่นพระครูอัษฎาจารย์บิดาหลวงสุริยเทเวศร์
เดี๋ยวนี้เปนต้น ลัทธิเวทมนต์อันใดก็ไม่ใคร่ผิดแปลกกัน เปนแต่
เลือน ๆ ลงไปเหมือนพระสงฆ์ในกรุงเทพ ฯ แลหัวเมือง ชรอย
หัวเมืองข้างใต้ตั้งแต่เมืองนครศรีธรรมราชขึ้นมา จะเปนเมืองที่มี
พราหมณ์โดยมาก จนเมืองเพ็ชรบุรีก็ยังมีบ้านพราหมณ์ตั้งสืบ
ตระกูลกันมาช้านานจนถึงเดี๋ยวนี้
    ลัทธิของพราหมณ์ที่นับถือพระเปนเจ้าต่าง ๆ บางพวกนับ
ถือพระอิศวรมากกว่าพระนารายน์ บางพวกนับถือพระนารายน์
มากว่าพระอิศวร บางพวกนับถือพรหม บางพวกไม่ใคร่พูด
ถึงพรหม บัดนี้จะว่าแต่เฉภาะพวกพราหมณ์ซึ่งเรียกว่าโหรดาจารย์
ซึ่งเปนผู้ทำพระราชพิธีตรียัมพวายตรีปวายอันเปนต้นเรื่องที่จะกล่าว
แต่พวกเดียว พราหมณ์โหรดาจารย์พวกนี้เปนพราหมณ์ที่สำหรับ
ใช้การพระราชพิธีในกรุงสยามทั่วไป ตั้งแต่การบรมราชาภิเศก
เปนต้น เว้นไว้แต่ที่เกี่ยวข้องด้วยช้างจึงเปนพนักงานพราหมณ์
พฤฒิบาศ พราหมณ์โหรดาจารย์พวกนี้นับถือพระอิศวรว่าเปน
ใหญ่กว่าพระนารายน์ นับถือพระอิศวรคล้ายพระยะโฮวาฤาพระ
อ้าหล่าที่ฝรั่งแลแขกนับถือกัน พระนารายน์นั้นเปนพนักงานสำหรับ
แต่ที่จะอวตารลงมาเกิดในมนุษย์โลกย์ ฤาอาวตารไปในเทวโลกย์
เอง คล้ายกันกับพระเยซูฤาพระมหะหมัด แปลกกันกับพระเยซู
แต่ที่อวตารไปแล้วย่อมทำร้ายแก่ผู้กระทำผิด คล้ายมหะหมัดซึ่ง
ข่มขี่ให้มนุษย์ทั้งปวงถือสาสนาตามลัทธิของตน ควรจะเห็นได้
ว่าสาสนาทั้งสามนี้มีรากง่าวเค้ามูลอันเดียวกัน แต่สาสนาของ
พราหมณ์เปนสาสนาเก่ากว่าสองสาสนา ชรอยคนทั้งปวงจะถือ
สาสนามผู้สร้างโลกย์เช่นนี้ทั่วกันอยู่แต่ก่อนแล้ว เพราะความคิด
เห็นว่าสิ่งใดจะเปนขึ้นเองไม่ได้ ย่อมมีผู้สร้าง การที่มนุษย์ทั้งปวง
จะได้รับความชอบความผิดต้องมีผู้ลงโทษแลผู้ให้บำเหน็จ เมื่อเห็น
พร้อมใจกันอยู่อย่างนี้จึงเรียกผู้มีอำนาจว่า ศิวะ ฤายะโฮวะ
ฤาอ้าหล่า ตามสำเนียงแลภาษา ก็เพราะสาสนาพราหมณ์เปน
สาสนาเก่า ได้กล่าวถึงพระนารายน์รับใช้พระอิศวรลงมาปราบ
ปรามผู้ซึ่งจะทำอันตรายแก่โลกย์เนือง ๆ เมื่อมีผู้คิดเห็นว่าความ
ประพฤติของมนุษย์ทั้งปวงในเวลานั้นไม่ถูกต้อง ก็เข้าใจว่าตัวเปน
พระนารายน์ผู้รับใช้ของพระอิศวรลงมาสั่งสอน ฤาปราบปรามมนุษย์
แต่กระบวนที่จะมาทำนั้นก็ตามแต่อัธยาไศรยแลความสามารถของ
ผู้ที่เชื่อว่าอวตารมา ฤาแกล้งอ้างว่าตัวอวตารมาด้วยความมุ่ง
หมายต่อประโยชน์ซึ่งจะได้ในที่สุด อันตนเห็นว่าเปนการตีการ
ชอบนั้น พระเยซูมีความ             ตนว่าเปนลูกพระยะโฮวา คือ
พระอิศวร แต่ไม่มีกำลังสามารถที่จะปราบปรามมนุษย์ด้วยสาตรา
วุธ ก็ใช้แต่ถ้อยคำสั่งสอนจนถึงอันตรายมาถึงตัว ก็ต้องรับอันตราย
กรึงไม้กางเขน พวกศิษย์หาก็ถือว่าเปนการรับบาปแทนมนุษย์
ตามอาการกิริยาซึ่งพระเยซูได้ประพฤติ เปนคนใจอารีมา แต่เดิม
ตามความนับถือที่จะคิดเห็นไป ฝ่ามหะหมัดเกิดภายหลังพระเยซู
เพราะไม่สู้ชอบใจในคำสั่งสอนของพระเยซู จนคิดจะเปลี่ยนแปลง
อยู่แล้วนั้น จึงสามารถที่จะเห็นได้ว่าซึ่งพระเยซูอ้างว่าเปนลูกพระ
ยะโฮวานั้นเปนการ          เกินไปแลไม่สู้น่าเชื่อ ทั้งการที่จะป้อง
กันรักษาชีวิต ตามทางพระเยซูประพฤติมานั้นก็ไม่เปนการป้อง
กันได้ จึงได้คิดซ่องสุมกำลังสาตราอาวุธปราบปรามด้วยอำนาจ
แล้วจึงสั่งสอนภายหลัง อ้างตัวว่าเปนแต่ผู้รับใช้ของพระอ้าหล่าให้
อำนาจแลความคิดลงมาสั่งสอนมนุษย์ทั้งปวง การซึ่งมนุษย์ทั้งปวง
เชื่อถือผู้ซึ่งอ้างว่ารับใช้พระอิศวรฤาพระยะโฮวาพระอ้าหล่าลงมาเช่นนั้น ก็ด้วยอาไศรยในคัมภีร์ของพราหมณ์ได้กล่าวไว้ว่าพระนารายน์
ได้รับใช้พระอิศวรลงมาเปนคราว ๆ นั้นเอง จนถึงประจุบันเดี๋ยวนี้
ก็ยังไม่สิ้นความคิดเห็นอย่างนี้ ยังมีมะหะดีอวตารลงมาตามคำ
ทำนายของมหะหมัด มุ่งหมายจะประกาศแก่มนุษย์ทั้งปวงว่าเปน
อวตารตามอย่างเก่า แต่เปนเวลาเคราะห์ร้ายถูกคราวที่มนุษย์
ทั้งปวงเจริญขึ้นด้วยความรู้ไม่ใคร่มีผู้ใดเชื่อถือ จนเราอาจทำนาย
ได้เปนแน่ว่า สืบไปภายน่าพระอิศวรคงจะไม่อาจใช้ใครลงมาได้อิก
ถึงลงมาคงจะไม่มีผู้ใดเชื่อถือ

         ในพระราชนิพนธ์ด้านบนนี้ทรงตรัสถึงศาสนาต่าง ๆในโลกที่มีความเกี่ยวพันกัน เพื่อนำไปสู่การมีพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ต่อไป ตามที่ผมได้เรียนให้ทราบแล้วว่าภาษาที่ทรงพระราชนิพนธ์เปนภาษาโบราณที่อาจจะไม่คุ้นหูคุ้นเคย ในปัจจุบัน และข้อความที่ปรากฎต่อสาธารณะชนปัจจุบันมีความอ่อนไหวและเกิดความขัดแย้งได้ง่ายจึงขอยกไว้เสีย แต่ไม่มีเจตนาที่จะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแต่อย่างใด ขอบพระคุณครับ

วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554

MUSEUM BENJAPON: พระราชพิธีเดือนยี่

MUSEUM BENJAPON: พระราชพิธีเดือนยี่: " พระราชพิธีเดือนยี่(ใต้) หรือเดือนสองในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการพระราชพิธีที่ค่อนข้างยืดยาวเช่นการพระราชพิ..."

พระราชพิธีเดือนยี่

 พระราชพิธีเดือนยี่(ใต้) หรือเดือนสองในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการพระราชพิธีที่ค่อนข้างยืดยาวเช่นการพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ซึ่งคงต้องใช้เวลานำเสนอเป็นหลายตอน ซึ่งจะนำเสนอต่อไป วันนี้จะนำเสนอพระราชพิธีเดือนยี่  หน้าที่ ๗๖ ดังนี้

    การพระราชพิธีในเดือนยี่นี้ คงนับพระราชพิธีบุษยาภิเศก
มาไว้ เพราะเหตุผลอันได้กล่าวไว้แล้วในเดือนอ้าย ในคำให้การ
ขุนหลวงหาวัดได้กล่าวไว้ว่า พระเจ้าแผ่นดินเสด็จขึ้นประทับบน
กองดอกไม้เจ็ดสีแล้วจำเริญพระนขา พราหมณ์ทั้ง ๘ คนถวายพร
แต่ในคำที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรม
สมเด็จพระบำราบปรปักษ์ ทรงเล่าให้ฟังนั้น ว่าทำเปนมณฑป
ดอกไม้สด พระเจ้าแผ่นดินทรงเครื่องถอดอย่างสรงมุรธาภิเศก
ประทับในมณฑปดอกไม้สดนั้นแล้วสรงมุรธาภิเศก เมื่อสอบกับ
กฎมณเฑียรบาลในการพระราชพิธีบุษยาภิเศกนี้ ก็ไม่ได้กล่าว
พิศดารในที่แห่งใด แต่ไปสมกันกับคำที่กล่าวว่าสรงมุรธาภิเศก
นี้อยู่แห่งหนึ่ง ในจำนวนพระราชพิธีมีสนาน ๑๗ อย่าง มีชื่อ
บุษยาภิเศกในจำนวนนั้นด้วย จะหาข้อความให้ลเอียดขึ้นไปกว่า
นี้ไม่ได้ ด้วยเปนพระราชพิธีโพยมบานอย่างเขื่อง เหมือนพิธี
เฉวียนพระโคกินเลี้ยงจึงได้สูญเร็ว ฯ
   
             ในพระราชนิพนธ์นี้ทรงตรัสว่าเป็นพระราชพิธีที่ไม่มีทำกันแล้วในจึงไม่มีรายละเอียดมากครับซึ่งในความคิดส่วนตัวฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลแห่งดอกไม้บานและสวยงามซึ่งเหมาะกับพระราชพิธีซึ่งตั้งแต่ในอดีตมานั้นพระราชพิธีต่าง ๆ มักขึ้นกับฤดูกาลที่เหมาะสมถือเป็นภูมิปัญญาขั้นสูงของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยแต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงไปอาจด้วยพระราชภาระกิจที่มีมากขึ้นทำให้พระราชพิธีบางพระราชพิธีสูญหายไปครับ.

MUSEUM BENJAPON: ระลึกถึง เพลงเก่า ๆ

MUSEUM BENJAPON: ระลึกถึง เพลงเก่า ๆ: " เมื่อคืนนี้ผมนั่งที่หน้าต่างบ้านเพียงคนเดียวมองออกไปริมฝั่งแม่ปิงบนสะพานนวรัฐมีคนมากมายกำลังมายืนที่บนสะพานเพื่อรอชมการจุดพลุเฉ..."

ระลึกถึง เพลงเก่า ๆ

   เมื่อคืนนี้ผมนั่งที่หน้าต่างบ้านเพียงคนเดียวมองออกไปริมฝั่งแม่ปิงบนสะพานนวรัฐมีคนมากมายกำลังมายืนที่บนสะพานเพื่อรอชมการจุดพลุเฉลิมฉลองปีใหม่ ผมเปิดวิทยุฟังเพลงไปด้วย พอถึงเวลาเที่ยงคืนก็มีการจุพลุอย่างสวยงามด้านฝั่งตะวันตกแม่น้ำปิงทั่วทั้งเมืองเป็นภาพที่สวยงาม และขณะเดียวกันหูผมก็ได้ยินเสียงเพลงอันไพเราะคุ้นหูซึ่งปีหนึ่งจะได้ยินสักครั้ง โดยเริ่มเนื้อเพลงว่า วันนี้วันดีปีใหม่ ท้องฟ้าแจ่มใสพาใจสุขสันต์ ฯ ผมร้องตามไปด้วยน้ำตาคลอเบ้าด้วยความสุขระคนความปิติยินดี ช่างเป็นเวลาที่มีความสุขแม้ว่าผมจะนั่งอยู่เพียงคนเดียวก็ตาม ความหมายของเพลงทำให้ผมมีพลังขึ้นมาอย่างหน้าประหลาด มีกำลังใจจะต่อสู้ไปในโลก นี้ ใครหนอช่างเป็นคนรังสรรค์เพลงอันมีคุณค่าเช่นนี้ ผมหวนคิด
ผมละสายตาจากพลุอันสว่างไสวแสนงาม ตรงไปที่ตู้หนังสือค้นหาหนังสือเพลงเล่มเก่าที่กระดาษเหลือกรอบปกหน้าปกหลังไม่มีแล้ว ค่อย ๆ บรรจงเปิด ค้นหา เพื่อจะได้เนื้อเพลงอันไพเราะกินใจนี้ ผมเปิดไปจนกลางเล่มจึงพบ เพลงที่ผมหาอยู่ ชื่อว่า รำวง รื่นเริงเถลิงศก โดยครูเอื้อ สุนทรสนาน และคุณแก้วอัจฉริยะกุล ผมจึงนำเนื้อเพลงมาเสนอ กับท่านกับเพลงอัน
อมตะเพลงนี้

            วันนี้วันดีปีใหม่
   ท้องฟ้าแจ่มใสพาใจสุขสันต์
ยิ้มให้กันในวันปีใหม่
  โกรธเคืองเรื่องใดจงอภัยให้กัน
            หมดสิ้นกันทีปีเก่า
 เรื่องทุกข์เรื่องเศร้าอย่าเขลาคิดมัน
ตั้งต้นชิวิตกันใหม่
ให้มันสดใส สุขใหม่ทั่วกัน เฮ...สุขใหม่
            รื่นเริงเถลิงศกใหม่ (ซ้ำ)
ร่วมจิตร่วมใจทำบุญร่วมกัน
ทำบุญการตามประเพณี
        กุศลราศรีจะบรรเจิดเฉิดฉันท์
พี่น้องร่วมชาติเดียวกัน (ซ้ำ)
     ขอให้สุขสันต์ทั่วกันเอย .....นอย.......

          ช่างเป็นเนื้อเพลงที่ไพเราะกินใจอย่างมากมายในทุกประโยคที่รังสรรด้วยความหมายอันงดงามผมจึงถือโอกาสนี้มอบเพลงนี้เป็นของขวัญและเป็นกำลังใจให้เพื่อนที่ติดตามบล็อกของผมและชาวไทยทุกท่านและเพื่อนทุกคนบนโลกด้วยความรักและปราถนาดี ขอปีนี้ทุกคนรักกันและให้เป็นไปตามเนื้อเพลงนี้น่ะครับขอบคุณครับ สวัสดีปีใหม่ครับ

MUSEUM BENJAPON: พระราชพิธีเดือนอ้าย

MUSEUM BENJAPON: พระราชพิธีเดือนอ้าย: " ในวาระดีถีข้นปีใหม่ขอพรใดอันประเสริฐบนโลกหล้าเป็นของท่านตลอดปีใหม่และตลอดไปด้วยครับ ก่อนอื่นต้องขอกราบขออภัยท่านที่ติดตามการนำเสนอของผ..."

พระราชพิธีเดือนอ้าย

 ในวาระดีถีข้นปีใหม่ขอพรใดอันประเสริฐบนโลกหล้าเป็นของท่านตลอดปีใหม่และตลอดไปด้วยครับ ก่อนอื่นต้องขอกราบขออภัยท่านที่ติดตามการนำเสนอของผมในบล็อกนี้ที่ขาดหายไปสิบกว่าวันอันเนื่องด้วยงานที่เข้ามาอย่างมากมายทำให้เหนื่อยจนเมื่อถึงบ้านอาบน้ำหัวถึงหมอนก็หลับไปตอนเช้าก็ต้องรีบไปทำงานตามหน้าที่เป็นอย่างนี้ทุกวันจนถึงสิ้นปีนี้แหล่ะครับ ต่อไปนี้คงจะมีเวลาเพราะงานต่าง ๆ ฝ่านพ้นไป และผมกำลังจัดการเรื่อง   มิวเซียมที่จะทำที่บ้านคงเสร็จและเปิดเป็นทางการในกลางเดือนกุมภา ฯ นี้ครับ วันนี้ผมจึงนำพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชพิธีสิบสองเดือนมาให้ท่านได้รับทราบต่อไปครับ หน้าที่ ๗๑ ถึงหน้าที่ ๗๕

             พระราชกุศลเทศนามหาชาติ
   มีการพระราชกุศลในเดือนอ้านนี้อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเปน
การประจำปีอยู่ แต่เปนการซึ่งเลื่อน ๆ มา มิใช่แบบกำหนด คือ
เทศมหาชาติ
    เทศนาสำหรับแผ่นดิน เปนพระราชกุศลนิจสมัยมีมาแต่เดิม
นั้น ๓๓ กัณฑ์ ซึ่งมีกำหนดเครื่องกัณฑ์คล้ายบริขารกฐิน คือ
ผ้าไตรแพร เงิน ๑๐ ตำลึง ขนมต่าง ๆ ดังเช่นกล่าวมาในเทศนา
เดือน ๑๒ นั้น ธรรมเนียมแต่เดิมเคยเปนเทศนามหาชาติ ๒ จบ
๒๖ กัณฑ์ อริยสัจ ๔ กัณฑ์ เดือนสิบสอง ๓ กัณฑ์ รวมเปนเทศนา
วิเศษสำหรับแผ่นดิน ๓๓ กัณฑ์
    ในรัชกาล ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓  ในเดือนสิบเอ็ดวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
มีมหาชาติ แรมค่ำ ๑ มีอริยสัจ ครบทั้ง ๓๐ กันฑ์ เมื่อเทศนา
จบแล้วจึ่งเสด็จลงลอยพระประทีป แต่รัชกาลที่ ๓ นั้น ถ้าปีใด
มีพระองค์เจ้าหม่อมเจ้าทรงผนวชเปนภิกษุแลสามเณรมาก ปีนั้น
ก็มีมหาชาติ ปีใดไม่ใคร่มีพระองค์เจ้าแลหม่อมเจ้าทรงผนวช
ก็เปลี่ยนเทศนาปฐมสมโพธิแบ่งวันละ ๑๐ กัณฑ์ ครั้นมาในแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กลางเดือนสิบเอ็ดต้องกับ
การฉลองพระพุทธรูปพระชนม์พรรษา ซึ่งทรงทำการเติมขึ้น ใน
เมื่อรัชการที่ ๓ แรกมีพระพุทธรูปประจำพระชนม์พรรษานั้น เคย
ฉลองในวันเดือน ๕ ขึ้นค่ำ ๑ ด้วยวันเฉลิมพระชนม์พรรษาในรัชกาล
ที่ ๓ นั้น คงตกอบู่ในเดือน ๔ ข้างแรมเดือน ๕ ข้างขึ้น พระพุทธ
รูปหล่อในเดือน ๔ ข้างขึ้น ถึงเดือน ๕ ขึ้นค่ำ ๑ ก็ได้ฉลองทุกปี ครั้น
มาถึงในรัชการที่ ๔ วันประสูตรเดิมอยู่ในเดือน ๑๑ จึงได้โปรด
ให้เลื่อนการหล่อพระชนม์พรรษามาหล่อในเดือน ๑๐ การฉลอง
พระชนม์พรรษา จึงได้มาฉลองในเดือนสิบเอ็ดขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม เทศนามหาชาติก็ต้องเลื่อนไป มีเทศนา
วิเศษเปลี่ยนแทนวันละกัณฑ์ การเทศนามหาชาตินั้นคงไปตก
อยู่ในเดือน ๑๒ ข้างขึ้นบ้าง ข้างแรมบ้าง ไม่กำหนดแน่ แต่มัก
จะโปรดให้มีแต่จบเดียว แล้วมีอริยสัจรวมเปน ๑๗ กัณฑ์ ยกมหา
ชาติ ๑๓ กัณฑ์นั้นไปเปนเทศน์วิเศษ ในกลางเดือนสิบเอ็ด ๓ กัณฑ์
ในการเฉลิมพระชนม์พรรษา ๔ กัณฑ์ ยังคงเหลือเทศน์วิเศษอยู่
อีก ๖ กัณฑ์ ไว้สำหรับรายใช้ไปในการพระราชกุศลต่าง ๆ ไม่ให้
ต่ำกว่าจำนวนเดิม ๓๓ กัณฑ์ ถ้าบางปีมีเจ้าพระเจ้าเณรบ้าง อย่าง
เช่นปีข้าพเจ้าบวชก็มีมหาชาติ ๒ จบเต็ม ๓๐ กัณฑ์บ้าง ถ้าเปนเช่น
นั้นเทศน์วิเศษก็คงเปนอันเติมขึ้นอีก ๘ กัณฑ์ รวมเปน ๔๐ กัณฑ์
แต่ครั้นตกมาถึงแผ่นดินประจุบันนี้ ถ้าว่าการฉลองพระพุทธรูป
พระชนม์พรรษาไม่ตกเดือนสิบเอ็ดก็จริง แต่ต้องทำบุญวันประสูตร
วันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในกลางเดือน
สิบเอ็ด จึงเลื่อนมหาชาติมามีตามเดิมไม่ได้ ยังซ้ำเดือนสิบสอง
เมื่อเลื่อนฉัตรมงคลมาทำในเดือนสิบสอง ก็ทำให้การในเดือน
สิบสองมากจนไม่ใคร่มีเวลาว่าง เทศนามหาชาติจึงต้องเลื่อนต่อไป
เดือนอ้าย ซึ่งเปนเดือนว่าง แต่ถึงกระนั้นก็ถูกคราวเสด็จหัวบ้าน
หัวเมืองเสียไม่ได้มีเนือง ๆ แลเจ้านายที่ทรงผนวชก็ไม่ใคร่มีใคร
อยู่ถึงเดือนอ้าย จึ่งไม่ชวนจะให้มีด้วย เพราะฉนั้นเทศน์มหาชาติ
จึ่งได้มีบ้างไม่ได้มีบ้าง บางปีก็มี ๒ จบ บางปีมีจบเดียว สุดแท้
แต่มีเวลาพอสมควรเท่าใด แต่มีจบเดียวโดยมาก
    การเทศนามหาชาติแต่ใน ๓ รัชกาลก่อนนั้น เทศน์บนพระ
ที่นั่งเสวตรฉัตร ในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยแห่งเดียว ยกไว้
แต่มีพระบรมศพอยู่บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จึ่งได้ยกขึ้น
ไปเทศนาบนพระแท่นมุก พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แต่ใน
แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เคยยกไปมีที่
พระที่นั่งอนันตสมาคม แต่แรกข้างในฟังไม่ได้ยิน จึงได้
ย้ายเข้าไปมีที่พระที่นั่งทรงธรรมข้างใน ข้าราชการที่เข้าไปใน
การเทศนานั้น เฉภาะแต่เจ้านาย เจ้าพนักงานกรมพระตำรวจ
แลมหาดเล็ก บนพระที่นั่งทรงธรรมเปนข้างในฟังทั้งสิ้น ครั้น
แผ่นดินประจุบันนี้ย้ายกลับมาเทศน์ที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยไปตามเดิม เพราะเสด็จอยู่ทางนี้ เมื่อพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยต้อง
ซ่อมแซมใหม่ จึงได้ยกมาเทศน์ที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
    การตกแต่งเครื่องบูชาเทศนานั้น แบบที่พระที่นั่งอมรินทร
วินิฉัย หลังพระที่นั่งเสวตรฉัตรผูกกิ่งไม้ มีดอกไม้ร้อยห้อยย้อย
เปนพวงภู่ผูกตามกิ่งไม้ทั่วไป บนพระแท่นถมตั้งพานพุ่มดอกไม้
พานทองสองชั้นขนาดใหญ่ขนาดเล็กเรียงสองแถว ตระบะถมตั้ง
หญ้าแพรก เข้าตอก ดอกมลิ ถั่ว งา แลมีพานเครื่องทองน้อย
แก้วห้าสำรับ ตั้งตะเกียงแก้วแซกตามระหว่างเครื่องทองน้อย
ตรงน่าพระที่นั่งเสวตรฉัตรออกไป ตั้งหมากพนมพานทองมหากฐิน
สองพาน หมาพนมใหญ่พานแว่นฟ้าสองพาน แล้วพานนี้เปลี่ยน
เปนโคมเวียน มีต้นไม้เงินทองตั้งรายสองแถว กระถางต้นไม้ดัด
ลายคราม โคมพโอมแก้วรายตลอดทั้งสองข้าง น่าแถวมีกรงนก
คิรีบูน ซึ่งติดกับหม้อแก้วเลี้ยงปลาทองตั้งปิดช่องกลาง ปลาย
แถวตั้งขันเทียนคาถาพัน ตามตะเกียงกิ่งที่เสาแขวนฉากเทศน์
ทั้ง ๑๓ กัณฑ์ น่าท้องพระโรงมีซุ้มตะเกียง ๔ ซุ้ม มีราชวัตรฉัตร
ธงผูกต้นกล้วยต้นอ้อยตามธรรมเนียม เล่ากันว่าเมื่อแผ่นดินพระ
บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย เปนเวลาเล่นเครื่องแก้วกำลัง
มีราคามากนั้น ในห้องฉากซึ่งเปนที่ประทับในพระเฉลียงพระที่นั่ง
อมรินทรวินิจฉัยนี้   ตั้งเครื่องแก้วเปนเครื่องนมัสการโต๊ะหมู่ แลมี
เครื่องประดับต่าง ๆงดงามยิ่งนัก เจ้านายข้าราชการฝ่ายในก็มี
ตระบะเครื่องบูชาเปนเครื่องแก้ว เครื่องทอง เครื่องถม ประกวด
ประขันกันเปนการสนุกสนานมาก แต่ชั้นหลังมานี้ ในพระฉาก
มีแต่เครื่องนมัสการแก้วโต๊ะประดับกระจกสำรับเดียวเท่านั้น แต่
เจ้านายข้าราขการฝ่ายในยังมีเครื่องบูชา ชั้นแก่ ๆ จึงใช้ตระบะ
อย่างเก่า ๆ ชั้นสาว ๆ ก็เปนพานย่อ ๆ ลงไป เล่นแต่สีดอก
ไม้ดอกไหล้ ไม่แขงแรงเหมือนอย่งแต่ก่อน แต่ถ้าเทศน์ที่พระ
ที่นั่งทรงธรรม จัดม้าหมู่ตรงน่าธรรมาศน์ มีเครื่องแก้วต่าง ๆ ฝรั่ง
บ้างจีนบ้างมากว่าที่เทศน์ท้องพระโรง แต่ยกต้นไม้เงินทอง ใช้
ตั้งต้นไม้สดรายออกไปถึงที่ตั้งเครื่องกัณฑ์
   ในเทศนามหาชาติหลวง ได้มีเปนการใหญ่ ในแผ่นดินพระ
บาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ เกณฑ์พระบรมวงษานุวงศ์
ข้าราชการ ทำกระจาดใหญ่บูชากัณฑ์เทศนาคราวหนึ่ง มาเมื่อ
แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้าพเจ้าบวชเปน
เณรได้ถวายเทศน์ มีกระจาดใหญ่เปนรูปเรือสำเภา ทำที่น่าพระ
ที่นั่งสุทไธสวรรย์เปนกัณฑ์เฉภาะตัวคนเดียวคราวหนึ่ง
    ธรรมเนียมเสด็จออกมหาชาติ กัณฑ์แรกทศพร เจ้ากรม
ปลัดกรมพระตำรวจต้องนำตะเกียงที่ซุ้มเข้ามาถวายทรงจุดซุ้มละ
ตะเกียง ต่อไปไม่ต้องถวายอีก มหาดเล็กต้องคอยเปลี่ยนเทียน
เครื่องนมัสการ ในเวลาที่เสด็จไปทรงประเคนเครื่องกัณฑ์ให้แล้ว
เสร็จ ทันเสด็จกลับมาประทับทุกครั้ง เวลาจุดเทียนแล้วต้อง
รับเทียนประจำกัณฑ์ แลเทียนคาถาพันทุกคราว ไม่มีเวลายกเว้น
นอกนั้นไม่มีการอันใดซึ่งจะต้องขาดเหลือ ฯ

     ทั้งหมดเปนรายละเอียดในพระราชกุศลเทศมหาชาติ ที่ล้นเกล้ารัชการที่ ๕ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้อย่างละเอียดทั้งประวัติการมีพระราชกุศลตั้งแต่ในรัชการที่ ๑ ถึง รัชกาลของพระองค์ เครื่องใช้ประกอบพระราชกุศล และการปฎิบัติหน้าที่ของข้าราชบริพาน อย่างละเอียด ทำให้ได้ทราบถึงธรรมเนียมปฎิบัติในแต่ละรัชการอีกด้วยครับ.  

การ์เรียนเชิญเปิดและชมนิทรรศการ

การ์เรียนเชิญเปิดและชมนิทรรศการ
นิทรรศการตั้งแต่ ๑๕ พย.ถึง ๑๕ ธค.นี้

In this photograph if you know please tell me where they are ?

In this photograph if you know please tell me where they are ?
ภาพถ่ายชุดนี้ คุณพ่อผมถ่ายไว้เป็นจำนวนมากเมื่อ ไปอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณ หกสิบ ถึงเจ็ดสิบปีมาแล้ว ท่านเสียชีวิตไปปี ๒๕๑๓ เอกสารบางอย่างถูกน้ำถ่วมและสูญหาย ทำให้ไม่ทราบถึงสถานที่ในภาพ ถ้าหากท่านทราบกรุณาบอกผมด้วยขอบคุณครับ

In this photograph if you know pleas tell me where they are ?

In this photograph if you know pleas tell me where they are ?
รูปแกะสลักนี้ตั้งอยู่ที่ไหนครับทราบโปรดบอกด้วยครับขอบคุณครับ

Please tell me where they are ?

Please tell me where they are ?
รูปเหล่านี้เป็นเทพฯของอียิปต์ยุกต์โบราณ

Please tell me where they are ?

Please tell me where they are ?
หน้าจะเป็นเทพฯ หรือ ราชินีองค์หนึ่งในอียิปต์โบราณ ถ้าสรวมหมวกรูปบัลลังก์ จะป็นเทพไอซิส

Please tell me were they are ?

Please tell me were they are ?

Please tell me where they are ?

Please tell me where they are ?

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู้หัว

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู้หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพุทธเจ้าหลวง พระปิยมหาราช เทิดพระเกียรติในวาระ ๑๐๐ ปี วันสวรรคต ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓ (มีบทความด้านล่าง)

พระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมศพประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
๑๑๐ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์มิรู้ลืม ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า นายเบญจพล สิทธิประณีต.

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระโอรสธิดา

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระโอรสธิดา
สมเด็จย่าทรงกับพระโอรสธิดาครั้งทรงพระเยาว์

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐรามาธิบดินทร รัชการที่ ๘ สมเด็จย่า ฯ พระอนุชา

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐรามาธิบดินทร รัชการที่ ๘ สมเด็จย่า ฯ พระอนุชา
ในหลวงรัชการที่ ๘ สมเด็จย่า และพระอนุชา (ในหลวงรัชกาลที่ ๙)

ทรงงาน

ทรงงาน
พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ ๙ และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงงาน

สมเด็จแม่ฯ

สมเด็จแม่ฯ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙

สูจิบัตร นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๑๐๙ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์ มิรู้ลืม

สูจิบัตร นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๑๐๙ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์ มิรู้ลืม
นิทรรศการ ๑๐๙ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์ มิรู้ลืม ณ.ศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์(แพ บุนนาค) งานเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐๙ ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ (มีรูปงานนิทรรศการด้านล่าง)

My collection-ภาพเก่าเล่าอดีต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

My collection-ภาพเก่าเล่าอดีต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จพระราชดำเนินวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่(พ.ศ.2501)

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)
เสด็จพระราชดำเนินวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)
ทั้งสองพระองค์บริเวณบันไดนาควัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่

พระบัวเข็ม

พระบัวเข็ม
พระบัวเข็ม ที่บ้านจะมีจานเชิงใส่นำรองอยู่ด้านล่างองค์พระซึ่งทำจากไม้ลงรักปิดทอง

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
Tn the town by Vimol Siddhipraneet.

The way of life in u.s.a.

The way of life in u.s.a.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A

The way of life in U.S.A
In the town.

ภาพถ่ายในสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายในสหรัฐอเมริกา
ถ่ายโดย คุณพ่อวิมล สิทธิประณีต.เมื่อครั้งไปสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา
คุณพ่อวิมล สิทธิประณีต.ถ่าย เมื่อทำงานสำนักข่าวสารอเมริกัน

ภาพถ่ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
คุณพ่อวิมล สิทธิประณีต.ถ่าย ล้าง และอัดเอง ท่านมีห้องมืดที่บ้าน.