วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระประวัติ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี

    สวัสดีครับเมื่อวานนี้เป็นวันสำคัญของชาติอีกวันหนึ่งคือวันปิยมหาราช หลายๆท่านคงได้ไปวางพวงมาลาที่พระบรมราชานุเสาวรีย์ตามจังหวัดต่าง ๆ ผมได้นำเสนอพระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่านบางตอนให้ทราบไปแล้ว พระองค์ทรงเป็นที่รักและเคารพจากประชาชนชาวสยาม ในขณะเดียวกันพระองค์ทรงเป็นที่รักเคารพของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี เจ้าหญิงแห่งนครเชียงใหม่ อันเป็นสายสัมพันธ์ที่ยาวนาน จนพระองค์เสด็จสวรรคต ต่อมาพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ก็เสด็จกลับคืนนครเชียงใหม่ แต่ก็ได้รับเสด็จ และการมาสู่ของเจ้านายข้าราชการจากกรุงเทพฯอยู่เสมอ และเมื่อเสด็จมาประทับที่เชียงใหม่พระองค์ยังทรงเอาพระทัยช่วยเหลือการงานของรัฐบาลและออกเยี่ยมเยียนราษฏรอยู่ตลอดพระชนม์ชีพ ดังในหนังสือพระประวัติ ที่เจ้าแก้วนวรัฐ ฯ เรียบเรียง ต่อไปดังนี้
ตอนที่ ๘ หน้าที่ ๑๑ ถึงหน้าที่ ๑๓
              พระองค์เป็นขัติยนารีพิเศษพระองค์หนึ่ง คือพระวรกายแข็งแรง พระทัยก็กล้าหาญ ทั้งทรงรู้จักค้นคว้าหาเหตุผลจากสิ่งต่าง ๆ ดังจะเห็นได้จากเมื่อเสด็จมาประทับอยู่เชียงใหม่ตอนต้น ๆ เคยทรงม้าประพาสที่ต่าง ๆ พอพระทัยให้ม้าวิ่งเสมอ โปรดเสด็จทอดพระเนตร์ภูมิประเทศต่าง ๆ แม้จะไกลและกันดาร หมิ่นต่ออันตรายก็ไม่ทรงท้อถอย เช่นเสด็จจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประพาสตั้งแต่อำเภอปายถึงอำเภอขุนยวม เสด็จลงเรือเล็กล่องตามแม่น้ำสาละวิน ซึ่งกว้างและลึก น่ากลัวอันตรายมากถึงสามราตรี และได้เสด็จขึ้นประพาสบ้านใหม่ในเขตต์เมืองยางแดง เสด็จกลับทางอำเภอแม่สะเรียง ขึ้นประทับแรมบนยอดดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในพระราชอาณาจักร์สยาม และน้อยคนที่จะได้ไปถึง เพราะทางขึ้นไปกันดาร สัตว์ป่าดุร้ายก็ชุม ต้องแผ้วถางทางและใช้ม้าเป็นพาหนะ ความหนาวถึง ๔๐ ดีกรีฟาเร็นไฮท์ แม้กระนั้นก็ประทับอยู่ถึงสองราตรี พระองค์ได้ทรงทำเครื่องหมายเป็นที่ระลึกไว้ณที่นั้นด้วย นอกจากนี้ยังเสด็จอำเภอฝางโดยขบวนช้างและม้า ประพาสบนดอยอ่างขางทอดพระเนตร์สวนฝิ่นของพวกแม้ว แล้วเสด็จนมัสการพระพุทธรูปทองทิพย์ อำเภอแม่สรวย เสด็จเชียงราย ทอดพระเนตร์ โพนช้างที่อำเภอเทิง และทอดพระเนตร์การจับช้างในพะเนียดที่อำเภอเชียงแสน ทอดพระเนตร์เขตต์แดนสยามกับฝรั่งเศสอังกฤษต่อกัน เสด็จลงเรือล่องตามลำน้ำโขงทอดพระเนตร์การจับปลาบึก ประพาสทอดพระเนตรวิวสองฝั่งแม่น้ำโขง เสด็จนมัสการพระธาตุดอยตุง เสด็จกลับเชียงใหม่ทางโหล่งกวง ต้องขึ้นเขาลงห้วยรอนแรมอยู่ในป่าลำบากมากเป็นเวลาหายราตรี ซึ่งเวลานี้ไม่ใคร่จะมีใครเดินทางนั้นแล้วนอกจากนี้ยังเคยเสด็จอำเภอเถิน อำเภอลี้ ออบแม่แจ่ม อำเภอฮอด พระบาทสี่รอย น้ำตกแม่กลาง แม่ยะ และพระบาท พระธาตุ ถ้ำ เหว อื่น ๆ อีกมาก ทางปักษ์ใต้ก็ได้เคยเสด็จตั้งแต่ราชบุรีตลอดถึงปีนัง ทั้งเสด็จเมื่อถนนหนทางยังไม่สะดวกเหมือนเวลานี้ด้วย เมื่อเสด็จถึงที่ไหนก็พยายามสืบถามถึงการทำมาหาเลี้ยงชีพผู้ที่อยู่แถบนั้น ๆ เมื่อปรากฏว่าอดอยากก็ประทานเข้าของเงินทอง และทรงพยายามหาทางช่วยเหลือเสมอ.
จบตอนที่ ๘ ถ้าหากอ่านจากหนังสือพระประวัติ พระราชชายา ในตอนนี้แล้ว จะทำให้ทราบถึงพระจริยาวัตรของพระราชชายา ที่ทรงมีต่อประชาชนในถิ่นธุรกันดาล ซึ่งผ่านมากว่าเกือบร้อยปีที่แล้ว การเสด็จออกเยี่ยมเยียนราษฏรในสมัยนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายสำหรับเจ้านายที่ทรงเคยประทับอยู่แต่ในพระบรมหาราชวังตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ไม่เคยทรงลำบาก แต่อาจด้วยทรงใกล้ชิดกับสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงที่เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่พระองค์ทรงเสด็จออกประพาสต้นอยู่เนืองๆ เพื่อดูแลทุกข์สุขของราษฏร จึงทำให้พระราชชายา เจาดารารัศมี ทรงมีพระวิริยะอุสาห์ตามรอยพระยุคลบาท ในการที่จะเยี่ยมเยียน ดูแลทุกข์ของราษฏร ทั้งใกล้และไกล และทรงงานที่เป็นประโยชน์อีกมากมายซึ่งจะได้เล่าให้ท่านฟังในคราวต่อไปครับ.

พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

     วันนี้เป็นปิยะมหาราช ชาวไทยทั่วทั้งประเทศจะไปวางพวงมาลาถวายบังคมเพื่อระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ครบ ๑๐๐ ปีแห่งวันสวรรคตพอดี ในบทความก่อนหน้านี้ผมได้อัญเชิญพระราชนิพนธ์บางตอนในพระราชนิพนธ์ เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน มาให้ได้อ่าน ในบทความ ตอนนี้ ผมจะนำ พระราชนิพนธ์ คำนำ ที่พระองค์ท่านทรงพระราชนิพนธ์มาให้ท่านผู้สนใจได้อ่านเพราะมีความรู้ในคำนำนี้มาก ถ้าหากข้ามไปจะหน้าเสียดาย ซึ่งมีด้วยกัน แปดหน้า คือหน้าที่ ๑ ถึง หน้าที่ ๘ ดังนี้
                                                                   พระราชนิพนธ์
                                                                         คำนำ
                                                          เรื่องพระราชพิธี ๑๒ เดือน
          พระราชพิธีซึ่งมีสำหรับพระนคร ที่ได้เคยประพฤติมาแต่ก่อนจนถึงประจุบันนี้ อาไศรที่มาเปน ๒ อย่าง อย่างหนึ่งมาตามตำราไสยศาตรที่นับถือพระเปนเจ้า อิศวร นารายน์ อย่างหนึ่งมาตามพระพุทธสาสนา แต่พิธีที่มาจากต้นเหตุทั้งสองอย่างนี้ มาคละระคนกับเปนพิธีอิกอย่างอย่างหนึ่งขึ้นก็มี ด้วยอาไศรยเหตุที่แต่เดิมพระเจ้าแผ่นดินแลชาวพระนครถือสาสนาพราหมณ์ การใด ๆ ซึ่งนับว่าเปนศรีสวัสดิมงคลแก่พระนครตามคัมภีร์ไสยสาตรก็ประพฤติเปนราชประเพณีสำหรับพระนครตามแบบอย่างนั้น
ครั้นเมื่อภายหลังพระเจ้าแผ่นดินแลราษฏรนับถือพระพุทธสาสนา ถึงว่าพระพุทธสาสนาที่เปนต้นเดิมแท้ไม่มีฟกษ์ภาพฺธีรีตองอันใด ด้วยพระพุทธเจ้าย่อมตรัสว่า ฤกษ์ดี ยามดี ครู่ดี ขณะดี การบูชาเส้นสรวงดี ทั้งปวงย่อมอาไศรยความสุจริตในไตรทวาร ถึงแม้ว่าการซึ่งจะเปนมงคลแลเปนอวะมงคลก็ดี ก็อาไสรยที่ชนทั้งปวงประพฤติการสุจริตทุจริตเปนที่ตั้ง เพราะฉนั้นการพระราชพิธีใด ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องเจือปนอยู่ในพระพุทธสาสนา ซึ่งมีคำอ้างว่ามาตามทางพุทสาสนานับเอาเปนคู่กับไสยสาตรนั้น จะอ้างว่าพระพุทธเจ้าบัญญัติฤาแนะนำไว้ให้ทกนั้นไม่ได้ มีอย่างเดียวแต่การพระราชพิธีทั้งปวง บางอย่างต้องกับคำที่พระพุทธเจ้าตรัสสรเสริญ บางอย่างต้องกับคำที่พระพุทธเจ้าตรัสติเตียน เมื่อว่าโดยย่อแล้ว การอันใดที่เปนสุจริตในไตรทวาร พระดุทธเจ้าก็ตรัสสรเสริญการสิ่งนั้นว่าเปนดี การสิ่งใดที่เปนทุจริตก็ย่อมทรงติเตียนว่าการสิ่งนั้นเปนการชั่ว เพราะฉนั้นการพระราชพิธีที่อ้างว่าตามพุทธสาสน์นั้นควรจะต้องเข้าใจว่า เปนแต่ตัวอย่างความประพฤติของผู้ซึ่งนับถือพระพุทธสาสนาได้ประพฤติมาแต่ก่อน การที่ประพฤตินั้นไม่เปนการมีโทษที่พระพุทธเจ้าจะพึงติเตียน การพระราชพิธีเช่นนี้นับว่าเปนการมาตามทางพุทธสาสน์
                     แต่ส่วนพระราชพิธีซึ่งคละปนกันทั้งพุทธสาสน์แลไสยสาตรนั้น ก็เกิดขึ้นด้วยเดิมทีพระเจ้าแผ่นดินแลราษกรนับถือสาสนาพราหมณืดั่งว่ามาแล้ว ครั้นเมื่อได้รับพระพุทธสาสนามาถือ พระพุทธสาสนาไม่สู้เปนปฏิปักษ์คัดค้านกันกับสาสนาอื่น ๆ เหมือนสาสนาพระเยซูฤาสาสนามหะหมัด พระพุทธเจ้ามีพุทธประสงค์อย่างเดียวแต่ที่จะแสดงเหตุที่เปนจริงอยู่อย่างไร แลทางที่จะระงับดับทุกข์ได้ด้วยอย่างไร ตามซึ่งพระองค์ตรัสรู้ด้วยพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์ไม่พยากรณ์กล่าวแก้ในถ้อยคำความเห็นของชนทั้งปวงที่กล่าวแก่งแย่งกนอยู่ต่าง ๆ ด้วยเห็นไม่เปนประโยชน์อันใด เมื่อว่าโดยอย่างที่สุดแล้ว ผู้ที่ถือพระพุทธสาสนาแท้ก็ไม่มีเหตุอันใดซึ่งสมควรจะนับถือลัทธิทางไสยสาตร แต่ผู้ที่นับถือพระพุทธสาสนาในชั้นหลังซึ่งไม่ได่บรรลุมรรคผล ย่อมมีความหวาดหวั้นสดุ้งสเทือนด้วยไภยอันตรายต่าง ๆ แลมีความปราถนาต่อความเจริญรุ่งเรืองแรงกล้า เมื่อได้เคยประพฤตินับถือกลัวเกรงพระเปนเจ้าแลเทพยดา ซึ่งว่ามีฟทธิอำนาจอาจจะลงโทษแก่ตนและผู้อื่นได้ในเหตุซึ่งมิใช่เปนคงามยุติธรรมแท้ คือบันดาลให้เกิดไข้เจ็บต่าง ๆ โดยความโกรธความเกลียดว่าไม่เคารพนบนอบบูชาตน ฤาอยู่ดี ๆ สบใจร้ายขึ้นมาก็ทำพิศม์สงให้คนทั้งปวงลำบากด้วยความเจ็บไข้กันดารด้วยเสบียงอาหารเปนต้น จึงได้คิดทำการบูชาเส้นสรวงให้เปนเครื่องป้องกันความผิด อันผู้มีอำนาจมีใจเช่นนั้นจะถือว่าเปนการหมิ่นประมาทไม่เคารพนบนอบ ฤาประจบประแจงไว้จะได้สบาย ๆ ใจไม่มีใจร้ายขึ้นมา ความเชื่อถือมั่นหมายในการอย่างนี้มีฝังอยู่ในใจคนทั้งปวงสืบลุกหลานมาหลายสิบชั่วคนแลอาไศรยเหตุผลซึ่งเปนการพเอิญเปนไปเฉพาะถูกคราวเข้ามีอยู่เนือง ๆ เปนเครื่องประกอบให้คิดเห็นว่าเปนเพราะผีสางเจ้านายกริ้วโกรธเช่นกล่าวมาแล้ว จึงทำให้ความหวาดหวั่นกลัวเกรงนั้นไม่ขาดสูญไปได้ เมื่อมีความกลัวอันตรายอยู่ดังนี้แล้ว ส่วนความปราถนาจะอยากดีอยากสบายนั้นแรงกล้า ก็ชักพาให้พ้นเข้าหาความอ้อนวอนขอร้องเส้นสรวงบูชาให้ข่วยแรงเข้าอีก ตามความปราถนาอันแรงกล้า ด้วยเหตุดังนี้แล ถึงแม่ว่าคนไทยถือพระพุทธสาสนาก็ยังหาอาจที่จะละทิ้งการบูชาเส้นสรวงไปได้ไม่การพระราชพิธีตามไสยสาตรจึงยังไม่ได้เลิกถอน เปนแต่ความนับถือนั้นอ่อนไป ตกอยู่ในทำไว้ดีกว่าไม่ทำ ไม่เสียหายอันใดนัก
                        แต่การพิธีทั้งปวงนั้นก็ย่อมเลือกเฟ้นแต่การสุจริตในไตรทวารไม่รับลัทธิซึ่งเปนการทุจริตของพวกพราหมณืฮินดูบางพวกซึ่งมีลัทธิร้ายกาจ เช่นฆ่าสัตว์บูชายัญเปนต้น มาถือเปนธรรมเนียมบ้านเมืองให้เปนการขัดขวางต่อพระพุทธสาสนา แลการพระราชพิธีอันใดซึ่งมีแต่พิธีพราหมณ์อย่างเดียว ก็ย่อมเพิ่มเติมการพระราชกุศลซึ่งเปนส่วนทานมัย ศีลมัย ภาวนามัย  เจือปนเข้าไปในพระราชพิธีนั้นยกเป็นต้นเหตุ การบูชาเส้นสรวงเทพยดาพระอิศวร พระนารายน์เปนต้น เปลี่ยนลงไปเปนปลายเหตุ ทำไปตามเคยตกอยู่ในเคยทำมาแล้วก็ทำดีกว่าไม่ทำ แลการที่ทำนั้นก็ไม่เปนการมีโทษอันใด แลไม่เปลืองเบี้ยหอยเงินทองอันใดมากนัก ซึ่งกล่าวมาทั้งปวงนี้เพื่อจะแสดงให้ทราบชัดในเบื้องต้นว่าพระราชพิธีทั้งปวงนั้นทำสำหรับประโยชน์อันใด แลเพื่อว่าผู้มีความสงไสยว่าพระเจ้าแผ่นดินแลราษฏรก็ถือพระพุทธสาสนา เหตุใดจึงทำพิธีตามลัทธิไสยสาตรอยู่แต่ก่อนคิดเห็นการดังเช่นกล่าวมานี้แล จึงยังได้ทำกรพระราชพิธีทั้งปวงซึ่งเปนการสำหรับพระนครสืบมา
                      ก็แลพระราชพิธีที่มีมาในพระรชกำหนดกฏมณเฑียรบาลซึ่งได้ตั้งขึ้นแต่แรกสร้างกรุงทวาราวดีศรีอยุทธยาโบราณ แสดงพระราชพิธีประจำเดือน ๑๒ เดือนไว้ ว่าเปนการซึ่งพระเจ้าแผ่นดินได้ทรงทำ ว่าเปนการเปนมงคลสำหรับพระนครทุกปีมิได้ขาดนั้นคือ
                      เดือนห้า การพระราชพิธีเผด็จศก ลดแจกรออกสนาม
                      เดือนหกพิธีไพศาขย์ จรดพระนังคัล
                      เดือนเจ็ดทูลนำล้างพระบาท
                      เดือนแปดเข้าพรรษา
                      เดือนเก้าตุลาภาร
                      เดือนสิบภัทรบทพิธีสารท
                      เดือนสิบเอ็ดอาศยุชยแข่งเรือ
                      เดือนสิบสองพฺธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม
                      เดือนอ้ายไล่เรือ เลิงพิธีตรียัมพวาย
                      เดือนยี่การพิธีบุศยาภิเศก เฉวียนพระโคกินเลี้ยง
                      เดือนสามการพิธีธานยเทาะห์
                      เดือนสี่การพิธีสัมพัจฉรฉินท์
                      การพระราชพิธีที่กล่าวมา ๑๒อย่างนี้ คงได้ทำอยู่ที่กรุงเทพฯ นี้แต่เดือนห้า เดือนหก เดือนสิบ เดือนสิบสอง เดือนสี่แต่พิธีเดือนอ้านเปลี่ยนมาเปนเดือนยี่ ตามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งไว้ เปลี่ยนมาแต่กรุงเก่าแล้ว ด้วยเหตุว่าเดือนอ้ายพึ่งเปนเวลาน้ำลด ถนนหนทางเปนน้ำเป็นโคลนทั่วไปย้ายมาเดือนยี่พอให้ถนนแห้ง แต่พระราชพิธีเดือนเจ็ด เดือนเก้า เดือนสิบเอ็ด เดือนยี่ ที่เปลี่ยนขึ้นไปเปนเดือนอ้าย และพิธีเดือนสามนั้นตำราสูญเสีย ไม่ได้ทำที่กรุงเทพ ฯ ถึงที่กรุงเก่าก็ทำบ้างเว้นบ้าง ไม่เปนการเสมอทุกปีตลอดไป แต่พิธีเดือนแปดนั้นเปนส่วนการพระราชกุศลในพระพุทธสาสนา เห็นจะเปนส่วนเกิดขึ้นมาใหม่เมื่อถือพระพุทธสาสนา แต่พิธีพราหมณ์เดิมน้นสาบสูญไม่ได้เค้าเงื่อนเลย ถึงพิธีที่ว่าสูญเสียไม่ได้ทำในกรุงเทพ ฯ นี้ก็ได้เค้าเงื่อนทุก ๆ พิธี เว้นแต่เดือนแปด ฤาชรอยจะเปนพิธีซึ่งไม่เปนการสุจริตในไตรทวารอย่างหนึ่งอย่างใด ไม่สมควรแก่ผู้ซึ่งนับถือพระพุทธสาสนาจะทำ จึงได้ยกเลิกเสียตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินถือพระพุทธสาสนา เปลี่ยเปนพิธีตามพทธสาสน์จึงได้สูญไป ที่ว่านี้เปนแต่การคาดคเน ส่วนการพระราชพิธีที่กรุงเทพ ฯ นี้ คงตามอย่างเก่าแต่เดือนห้า เดือนหก เดือนสิบ เดือนสิบสองเดือนยี่ เดือนสี่ เท่านั้นก็ดี ยังมีพระราชพิธีที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมขึ้นใหม่ จนเกือบจะครบสิบสองเดือนเหมือนของเกา ซึ่งคิดจะกล่าวต่อไปในเบื้องหน้านี้
                     การซึ่งคิดจะเรียบเรียงพระราชพิธีสิบสองเดือน ลงในหนังสือวชิรญาณครั้งนี้ ด้วยเห็นว่าคำโคลงพระราชพิธีทวาทมาศ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ ทรงแตงขึ้นไว้ กรรมสัมปาทิกปีหลายนี้ ได้นำมาลงไว้ในหนังสือวชิรญาณเกือบจะตลอดอยู่แล้ว แต่คำโคลงนันท่านก็ทรงไม่ทันจบครบสิบสองเดือน แลในสำเนาความนั้นว่าความลเอียดทั้วไปจนการนักขัจฤกษ์ ซึ่งเปนส่วนของราษฏร ข้อความที่ว่าพิศดารมากกว่าตัวโคลงที่จะทำ จึงต้องประจุถ้อยคำลงให้แน่น บางทีผู้ซึ่งไม่สู้สันทัดในการกาพย์โคลงก็อ่านไม่เข้าใจแลในครั้งนี้ได้คิดที่จะช่วยกันแต่ง เรียบเรียงข้อความในความประพฤติของราษฏรประชาชนในกรุงสสยาม ซึ่งได้เล่นการนักขัตฤหษ์ตามฤดุปีเดือน เพื่อจะให้เปนประโยชน์ที่ให้คนภายหลังทราบการงาน ซึ่งเราได้ประพฤติเปนประเพณีบ้านเมืองอยู่บัดนี้ฤาในชั้นพวกเราทุกวันนี้ที่ยังไม่ได้ทราบได้เห็นการประพฤติทั่วไปของชนทั้งปวงก็จะได้ทราบ เหมือนอย่างช่วยกันสืบสวนมาเล่าสู่นฟัง ส่วนในการพระราชพิธีประพฤติเปนไปอยู่ในราชการนี้ก็เปนข้อสำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งเปนเวลาประชุมพระบบรมวงษานุวงษ์แลข้าราชการพร้อมกันคราวหนึ่ง ครั้นจะรวบรวมลงเปนเรื่องเดียวันกับการนักขัตฤกษ์ของราษฏร ก็จะเปนความยือยาวปะปนฟั่นเฝือกันไป จึงได้คิดแยกออกไว้เสียต่างหาก คิดกำหนดแบ่งข้อความเปน ๑๒ ส่วนส่วนละเดือน กำหนดจะให้ได้ออกในวันสิ้นเดือนครั้งหนึ่งไปจนตลอดปี แต่เดือนหนึ่งจะมากบ้างน้อยบ้างตามการที่มีมากแลน้อย หวังใจว่าคงจะเปนประโยชน์แก่ผู้ซึ่งใคร่ทราบเวลาเวลาประชุมราชการได้ ตามสมควรแก่เรื่องราวซึ่งนับว่าเปนแต่พระราชพิธี ดังนี้ ฯฯ      
                    คำนำที่ทรงพระราชนิพนธ์ก็จบลงเพียงนี้ซึ่งถ้าหากได้อ่านอย่างถี่ถ้วยแล้วผมว่าเป็นประโยชน์อย่างมากเลยครับ ซึ่งต่อจากนี้พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เริ่มตั้งแต่เดือน ๑๒ พระราชพิธีจองเปรียง ก่อนซึ่งผมจะหาโอกาสอัญเชิญพระราชนิพนธ์มานำเสนอกับท่านที่สนใจ และขอกราบขออภัยถ้าหากผมพิมพ์ตกหล่น เนื่องจากภาษาที่ใช้ในสมัยนั้นไม่คุ้นชิน แต่ผมก็พยายามทบทวน และจะเห็นการใช้ภาษาการสะกดที่แตกต่างจากปัจจุบันเป็นบางคำ ขอขอบพระคุณครับ.

การ์เรียนเชิญเปิดและชมนิทรรศการ

การ์เรียนเชิญเปิดและชมนิทรรศการ
นิทรรศการตั้งแต่ ๑๕ พย.ถึง ๑๕ ธค.นี้

In this photograph if you know please tell me where they are ?

In this photograph if you know please tell me where they are ?
ภาพถ่ายชุดนี้ คุณพ่อผมถ่ายไว้เป็นจำนวนมากเมื่อ ไปอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณ หกสิบ ถึงเจ็ดสิบปีมาแล้ว ท่านเสียชีวิตไปปี ๒๕๑๓ เอกสารบางอย่างถูกน้ำถ่วมและสูญหาย ทำให้ไม่ทราบถึงสถานที่ในภาพ ถ้าหากท่านทราบกรุณาบอกผมด้วยขอบคุณครับ

In this photograph if you know pleas tell me where they are ?

In this photograph if you know pleas tell me where they are ?
รูปแกะสลักนี้ตั้งอยู่ที่ไหนครับทราบโปรดบอกด้วยครับขอบคุณครับ

Please tell me where they are ?

Please tell me where they are ?
รูปเหล่านี้เป็นเทพฯของอียิปต์ยุกต์โบราณ

Please tell me where they are ?

Please tell me where they are ?
หน้าจะเป็นเทพฯ หรือ ราชินีองค์หนึ่งในอียิปต์โบราณ ถ้าสรวมหมวกรูปบัลลังก์ จะป็นเทพไอซิส

Please tell me were they are ?

Please tell me were they are ?

Please tell me where they are ?

Please tell me where they are ?

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู้หัว

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู้หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพุทธเจ้าหลวง พระปิยมหาราช เทิดพระเกียรติในวาระ ๑๐๐ ปี วันสวรรคต ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓ (มีบทความด้านล่าง)

พระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมศพประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
๑๑๐ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์มิรู้ลืม ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า นายเบญจพล สิทธิประณีต.

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระโอรสธิดา

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระโอรสธิดา
สมเด็จย่าทรงกับพระโอรสธิดาครั้งทรงพระเยาว์

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐรามาธิบดินทร รัชการที่ ๘ สมเด็จย่า ฯ พระอนุชา

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐรามาธิบดินทร รัชการที่ ๘ สมเด็จย่า ฯ พระอนุชา
ในหลวงรัชการที่ ๘ สมเด็จย่า และพระอนุชา (ในหลวงรัชกาลที่ ๙)

ทรงงาน

ทรงงาน
พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ ๙ และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงงาน

สมเด็จแม่ฯ

สมเด็จแม่ฯ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙

สูจิบัตร นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๑๐๙ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์ มิรู้ลืม

สูจิบัตร นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๑๐๙ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์ มิรู้ลืม
นิทรรศการ ๑๐๙ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์ มิรู้ลืม ณ.ศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์(แพ บุนนาค) งานเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐๙ ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ (มีรูปงานนิทรรศการด้านล่าง)

My collection-ภาพเก่าเล่าอดีต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

My collection-ภาพเก่าเล่าอดีต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จพระราชดำเนินวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่(พ.ศ.2501)

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)
เสด็จพระราชดำเนินวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)
ทั้งสองพระองค์บริเวณบันไดนาควัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่

พระบัวเข็ม

พระบัวเข็ม
พระบัวเข็ม ที่บ้านจะมีจานเชิงใส่นำรองอยู่ด้านล่างองค์พระซึ่งทำจากไม้ลงรักปิดทอง

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
Tn the town by Vimol Siddhipraneet.

The way of life in u.s.a.

The way of life in u.s.a.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A

The way of life in U.S.A
In the town.

ภาพถ่ายในสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายในสหรัฐอเมริกา
ถ่ายโดย คุณพ่อวิมล สิทธิประณีต.เมื่อครั้งไปสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา
คุณพ่อวิมล สิทธิประณีต.ถ่าย เมื่อทำงานสำนักข่าวสารอเมริกัน

ภาพถ่ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
คุณพ่อวิมล สิทธิประณีต.ถ่าย ล้าง และอัดเอง ท่านมีห้องมืดที่บ้าน.