วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

MUSEUM BENJAPON: พระราชพิธีเดือนหก

MUSEUM BENJAPON: พระราชพิธีเดือนหก: "พระราชพิธีพืชมงคล แลจรดพระนังคัล ในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อจากตอนที่แล้ว ดังนี้ครับ ก็ธรรมเนียมการแรกน..."

พระราชพิธีเดือนหก

พระราชพิธีพืชมงคล แลจรดพระนังคัล ในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อจากตอนที่แล้ว ดังนี้ครับ
        ก็ธรรมเนียมการแรกนาซึ่งมีมาในสยามแต่โบราณตามที่ค้น
ได้ในหนังสือต่าง ๆ คือหนังสือนพมาศ เมื่อครั้งกรุงศุโขไทยนั้น
มีข้อความว่า "ในเดือนหก พระราชพิธีไพศาข จรดพระนังคัล
พราหมณ์ประชุมกันผูกพรตเชิญเทวรูปเข้าโรงพิธีณท้องทุ่งละหาน
หลวงน่าพระตำหนักห้างเขา กำหนดฤกษ์แรกนาว่าใช้วันอาทิตย์
พระเจ้าแผ่นดินทรงเครื่องต้นอย่างเทศ ทรงม้าพระที่นั่งพยุหยาตรา
เป็นกระบวนเพ็ชรพวง พระอรรคชายาและพระราชวงษานุวงศ์ พระ
สนทกำนัลเลือกแต่ที่ต้องพระราชหฤไทย ขึ้นรถประเทียบตามเสด็จ
ไปในกระบวนหลัง ประทับที่พระตำหนักห้าง จึงโปรดให้ออกยาพล
เทพธิบดีแต่งตัวอย่างลูกหลวง มีกระบวนแห่ประดับด้วยกรรฉิ่งบัง
สูรย์ พราหมณ์เป่าสังข์โปรยเข้าตอกนำน่า ครั้นเมื่อถึงมณฑล
ท้องละหาน ก็นำพระโคอุศุภราชมาเทียมไถทอง พระครูพิธีมอบ
ยามไถแลประฎักทอง ให้ออกยาพลเทพเปนผู้ไถที่หนึ่ง พระศรี
มโหสถซึ่งเปนบิดานางนพมาศเองแต่งตัวเครื่องขาวอย่างพราหมณ์
ถือไถเงินเทียมด้วยพระโคเสวตรพระพรเดินไถเป็นที่สอง พระวัฒนะ
เศษรฐีแต่งกายอย่างคหบดี ถือไถหุ้มด้วยผ้ารัตกัมพลแดง เทียม
ด้วยโคกระวิลทั้งไม้ประฎัก พระโหราลั่นฆ้องไชยประโคมดุริยางค
ดนตรี ออกเดินไถเวียนซ้ายไปขวา ชีพ่อพราหมณ์ปรายเข้าตอก
ดอกไม้ บันฝาเสียงสังข์ไม้บัณเฑาะว์นำน่าไถ ขุนบริบูรณ์ธัญญา
นายนักงานนาหลวงแต่งตัวนุ่งเพลาะคาดราตคตสวมหมวกสาน ถือ
กระเช้าโปร่งปรายหวานพืชธัญญาหารตามทางไถจรดพระนังคัลถ้วน
สามรอย ในขณะนั้นมีการมหรศพ ระเลงระบำโมงครุ่มหกคเมน
ไต่ลวด ลอดบ่วงลำแพนแทงวิไสยไก่ป่าช้าหงษ์รายรอบปริมณฑล
ที่แรกนาขวัญ แล้วจึงปล่อยพระโคทั้งสามอย่างออกกินเลี้ยงเสี่ยง
ทายของห้าสิ่ง แล้วโหรพราหมณ์ก็ทำนายตามตำหรับไตรเทพ ใน
ขณะนั้นพระอรรคชายาก็ดำรัสสั่งพระสนมให้เชิญเครื่องพระสุพรรณ
ภาชน์มธุปายาศขึ้นถวายพระเจ้าอยุ่หัวเสวย ราชมัลก็ยกมธุปายาศ
เลี้ยงลูกขุนทั้งปวง" เปนเสร็จการพระราชพิธีซึ่งมีมาในเรื่องนพมาศ..

     จากพระราชนิพนธ์ตอนนี้ทรงกล่าวถึงพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนา
ของกรุงสุโขทัย ซึ่งมีส่วนแตกต่างปัจจุบันอยุ่มาก และยังคงมีอีกที่ไม่เหมือน
กรุงสุโขทัยซึ่งจะนำเสนอต่อไปครับ

เบญจพล พิพิธภัณฑ์ Museum BenJapon

เรื่องของตู้ ในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมีอยู่หลายใบด้วยกันครับ ที่มีมาแต่ครั้งบ้านหลังเดิมที่เป็นไม้ซึ่งมีอยู่สองหลัง หลังใหญ่ เป็นบ้านไม้สองชั้นหันหน้าบ้านไปทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นถนนเจริญเมือง ส่วนอีกหลังจะหันไปทางแม่น้ำปิงเป็นลักษณะ "เฮือนแป" คือบ้านไม้ที่เปิดหน้าร้านด้วยประตูบานพับได้ตลอดซึ่งเปิดเป็นร้านค้าขายถ้ามองจากด้านหน้าจะมีชั้นเดียวยาวสามห้อง แต่ด้านในแบ่งเป็นสองชั้นโดยแบ่งครึ่งเรือนตามขวางด้านหน้าเป็นที่ค้าขายด้านหลังเป็นที่อยู่อาศัยและมีบันใดขึ้นชั้นบน และจะมีชานต่อออกไปติดต่อกับด้านข้างของบ้านหลังใหญ่ ส่วนตู้จะมาจากบ้าน "เฮือนแป" คือตู้ใบใหญ่ที่ตั้งอยุ่ด้านขวามือเมื่อเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ เป็นตู้ขนาดสามชั้น ซึ่งเป็นสมบัติของ คุณชวดบัวเขียว เลาวพงศ์ ชวดบัวเขียว นั้นท่านเป็นนางสาวไม่ได้แต่งงานและได้นำเอาคุณตาซุ่นเฮง เลาวพงศ์ ซึ่งเป็นลูกของคุณชวดฮัวฮง เลาวพงศ์ ซึ่งเป็นน้องมาเลี้ยงเป็นลูก  ตู้ใบนี้ที่จริง มีสองใบที่เหมือนกัน สมัยคุณชวดจะใช้สำหรับใส่เสื้อผ้า และ ของมีค่าต่าง ๆ เมื่อตอนแบ่งมรดก ตู้คู่นี้ก็ถูกแยกจากกัน โดยใบแรก พี่ชายคุณแม่อาภรณ์ ได้ไป ส่วนใบที่เหลือ เป็นของคุณแม่ จากลักษณะของตู้ เป็นช่างชาวจีนเป็นผู้ทำ และขนาดจะพอดีกับห้องที่ใน "เฮือนแป" กระจกยังคงเป็นกระจกเดิมที่เนื้อกระจกใสจะไม่เรียบและมีฟองอากาศในเนี้อกระจกบางแผ่น มีบัวด้านบนต่อลงมาจะมีคิ้วสองเส้นระหว่างคิ้วจะมีลูกมะเฟือง ลุกเล็ก ๆ ติดเป็นระยะตลอดแนวระหว่างคิ้ว ด้านหน้าเป็นบานกระจกพับด้านล่ะสองบาน มีเสาเซาะร่อง หน้าตู้ทั้งด้านริม ทั้งสอนด้านและที่กลางตู้ที่บานประตูตู้จะมาบรรจบกัน ตู้ใบนี้มีขนาดใหญ่ยาวประมาณสามเมตร สู่งประมาณ สองเมตร
เป็นไม้สัก และเดิมลงน้ำมันสีโอกด้านแต่มาเปลี่ยนเป็นสีโอกมันตอนที่ย้ายมายังตึกบ้านอาภรณ์หลังปัจจุบัน ซึ่งหลังเดิมที่เป็นไม่นั้นได้รื้อออกเมื่อปี พศ. ๒๕๑๘ แล้วสร้างเป็นตึกหลังที่ที่เป็นพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบันแล้วเสร็จเมื่อปี พศ.๒๕๒๐ ส่วนบ้าน "เฮือนแป" รื้อเนื่องจากชำรุดทรุดโทรมอย่ามาก และสร้างเป็นเรือนทรงปั้นหยาอย่างที่เห็นปัจจุบัน ตู้บางใบจึงถูกขนย้ายมาที่บ้านตึก หลังนี้ และบางใบก็แบ่งให้ญาติพี่น้องของคุณแม่อาภรณ์ไป ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ไม่กี่ใบ ส่วนที่เห็นอยู่ในพิพิธภัณฑ์ปัจจุบันนั้นด้วยความจำเป็นที่ต้องหาตู้ใส่ของจึงจัดซื้อมาจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นตู้เก่าทั้งหมดทุกใบ
ตู้อีกใบที่ตั้งอยู่ชั้นที่สองของพิพิธภัณฑ์ คือตู้ยุกต์หลัง คือตู้ใส่เสื้อผ้าเช่นกันเป็นสมบัติของคุณย่าบัวแก้ว สิทธิประณีต เป็นคุณแม่ของคุณพ่อวิมล สิทธิประณีต ตู้ใบนี้จัดซื้อเมื่อครั้งคุณปู่จันทร์ สิทธประณีต ได้สร้างตึกที่อยู่อาศัย ที่ตรงกันข้ามวัดหมื่นตูม ประตูเชียงใหม่ ซึ่งเป็นตู้รุ่นกลาง ประมาณปี ๒๔๙๕ ลงมา ซึ่งเป็นตู้ที่ลักษณะเรียบง่าย มีสี่ชั้นมีกระจกสามด้านของสองชั้นบน เป็นตู้ที่คุณย่าใช้ใส่เสื้อผ้าของท่านอีกเช่นกัน และเมื่อคุณย่าเสียชีวิตได้นำตู้นี้มาไว้ที่บ้านตึกเชิงสะพานนวรัฐ โดยใส่เสื้อผ้าบางส่วนของคุณย่าและคุณปู่ไว้จากภาพถ่ายจะเห็นว่าส่วนฐานของตู้หายไปและมีรอยคราบน้ำสูงขึ้นมาประมาณ ครึ่งเมตร ก็เนื่องจาก ตู้และสิ่งของจำนวนมากจะจัดวางไว้ที้ห้องใต้ดินบ้านตึกใหญ่เชิงสะพานนวรัฐ และเมื่อปีที่น้ำท่วมใหญเชียงใหม่ ประมาณปี ๒๕๔๘ - ๒๕๔๙ บ้านที่เชิงสะพานซึ่งไม่เคยมีน้ำท่วมเลยเพราะเป้นที่สูงถูกน้ำถ่วมถึงกว่าครึ่งเมตร ทำให้ ตู้และข้าวของเครื่องใช้ที่สะสมมาแต่รุ่นปู่ย่าตาชวด เสียหายไปเกือบหมด เพราะคาดไม่ถึงว่าน้ำจะเข้าบ้าน โดยน้ำซึมมาจากใต้ดินดันพื้นปูนห้องใต้ดินขึ้นมาเหมือนน้ำพุ เก็บของไม่ทัน และเป็นเวลากลางดึกด้วย จึงเหลือมาจัดแสดงเท่าที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ปัจจุบัน
ยังมีตู้อีกหลายใบ เช่นตู้ของร้านถ่ายรูปทานาคา ตุ้ของคุณชวดถมยา สุจนิล(วสุวัต) และตู้ขายของร้านขายยาอินทนนท์โอสถของคุณตาซุ่นเฮง เลาวพงศ์ ซึ่งจะนำมาเสนอต่อไป ครับ.

MUSEUM BENJAPON: พระราชพิธีเดือนหก

MUSEUM BENJAPON: พระราชพิธีเดือนหก: " พระราชพิธีเดือนหกในพระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณื พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งยั..."

พระราชพิธีเดือนหก

 พระราชพิธีเดือนหกในพระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณื พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งยังคงมีมาถึงปัจจุบันแต่อาจมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสภาพปัจจุบันบ้าง แต่ในที่นี้อยากให้ผู้อ่านทราบถึง พระราชพิธีในครั้งรัชกาลที่ ๔ และ ๕ ซึ่งมีมาแต่เดิม ตามพระราชนิพนธ์ ดังนี้ ครับ
   พระราชพิธีพืชมงคล แลจรดพระนังคัล
 การพระราชพิธีกล่าวเปนสองชื่อ แต่เนื่องกันเปนพิธีเดียว
นี้ คือปันในวันสวดมนต์เปนวันพระราชพิธีพืชมงคล ทำขวัญพืช
พรรณต่าง ๆ มีเข้าเปลือกเปนต้น จรดพระนังคัลเปนพิธีเวลาเช้า
คือลงมือไถ ถ้าจะแบ่งเปนคนละพิธีก็ได้ ด้วยพิธีพืชมงคลไม่
ได้ทำแต่ในเวลาค่ำวันสวดมนต์ รุ่งขึ้นเช้าก็ยังมีการเลี้ยงพระ
ต่อไปอีก การจรดพระนังคัลนั้นเล่า ก็ไม่ได้ทำแต่วันซึ่งลงมือ
แรกนา เริ่มพระราชพิธีเสียแต่เวลาค่ำวันสวดมนต์พืชมงคลนั้น
แล้ว พระราชพิธีพืชมงคลเปนพิธีสงฆ์ทำที่ท้องสนามหลวงในพระ
นคร พระราชพิจรดพระนังคัลเปนพิธีพราหมณ์ ทำที่ทุ่งซ่มป่อย
นอกพระนคร พิธีทั้งสองนั้นก็นับว่าทำพร้อมกันในคืนเดียววันเดียว
กัน จึงได้เรียกชื่อติดกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลแลจรดพระนังคัล
   ฤกษ์การพระราชพิธีนี้ ต้องหาฤกษ์วิเศษกว่าฤกษ์อื่น ๆ คือ
กำหนดสี่อย่าง ฤกษ์นั้นอย่าให้ต้องวันผีเพลียอย่างหนึ่ง ให้ได้
ศุภดิถีอย่างหนึ่ง ให้ได้บุรณฤกษ์อย่างหนึ่ง ให้ ได้วันสมภเคราะห์
อย่างหนึ่ง ตำราฤกษ์นี้เปนตำราเกร็ด เขาสำหรับใช้เริ่มที่
จะลงมือแรกนา หว่านเข้า ดำเข้า เกี่ยวเข้า ขนเข้า ขึ้นยุ้ง แต่ที่เขาใช้
กันนั้นไม่ต้องหาฤกษ์อย่างอื่น ให้แต่ได้สี่อย่างนี้แล้ว ถึงจะถูกวัน
อุบาศน์โลกาวินาศก็ใช้ได้ แต่ฤกษ์จรดพระนังคัลอาไศรยประกอบ
ฤกษ์ดีตามธรรมเนียมด้วยอีกชั้นหนึ่ง ตามแต่จะได้ลงวันใดในเดือน
หก ดิถีซึ่งนับว่าผีเพลียนั้น ข้างขึ้นคือ ๑,๕,๗,๘,๙,๑๐,๑๑,๑๕,
ข้างแรม ๑,๕,๖,๗,๘,๑๐,๑๑,๑๔,เปนใช้ไม่ได้ ศุภดิถีนั้นก็
๘,๑๑,๑๔,๑๗,๒๒,๒๔,๒๖,๒๗, วันสมภเคราะห์นั้น คือ วันจันทร์
วันพุฒ วันพฤหัศบดี วันศุกร์ กับกำหนดธาตุอิกอย่างหนึ่ง ตามวัน
ที่โหรแบ่งเปน ปถวี อาโป เตโช วาโย ให้ได้ส่วนสัดกันแล้วเปน
ใช้ได้ จะพรรณาที่จะหาฤกษ์นี้จะยืดยาวไป เพราะไม่มีผู้ใดที่จะ
ต้องใช้อันใด
   การแรกนาที่ต้องเปนธุระของผู้ซึ่งเปนใหญ่ในแผ่นดินเปนธรรม
เนียมมีมาแต่โบราณ เช่นในเมืองจีน สี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้า
แผ่นดินก็ลงทรงไถนาเองเปนคราวแรก พระมเหษีเลี้ยงตัวไหม
ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามนี้ ที่มีปรากฎอยุ่ในการ
แรกนานี้ก็มีอยู่เสมอเปนนิจไม่มีเวลาเว้นว่าง ด้วยซึ่งผู้เปนใหญ่
ในแผ่นดินลงมือทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร
ชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้
อาไศรยเลี้ยงชีวิตรทั่วหน้า เปนต้นเหตุของความตั้งหมั่นแลความ
งามเจริญไพบูรณ์แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีวิธีเจือปนต่าง ๆ ไม่
เปนแต่ลงมือไถนาเป็นตัวอย่าง เหมือนอย่างชาวนาทั้งปวงลงมือ
ไถนาของตัวตามปรกติ ก็ด้วยความหวาดหวั่นต่ออันตราย คือ
นำฝนน้ำท่ามากไปน้อยไป ด้วงเพลี้ยแลสัตว์ต่าง ๆ จะบังเกิดเปน
เหตุอันตราย ไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิ แลมีความปรารถนา
ที่จะให้ประโยชน์เต็มภาคภูมิเปนกำลัง จึงได้ต้องแส่หาทางที่
จะแก้ไข แลทางที่จะอุดหนุน แลที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงน่าจะได้
เปนที่มั่นอกมั่นใจ ก็การที่จะแก้ไขเยียวยาน้ำฝนน้ำท่า ซึ่งเปน
ของเปนไปโดยฤดูปรกติเปนเองโดยอุบายลงแรงลงทุนอย่างไรไม่
ได้ จึงต้องอาไศรยคำอธิฐานเอาความสัตย์เปนที่ตั้งบ้าง ทำการ
ซึ่งไม่มีโทษนับว่าเปนการสวัสดิมงคล ตามซึ่งมาในพระพุทธสาสนา
บ้าง บูชาเส้นสรวงตามที่มาทางไสยสาตรบ้าง ให้เปนการช่วย
แรงแลเปนที่มั่นใจตามความปราถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สุด...

    ยังมีต่อไปอีกจะนำเสนอในตอนหน้าครับจากพระราชนิพนธ์ทำให้ทราบว่าการพระราชพิธีนี้ต้องมีการหาฤกษ์ยาม และพระเจ้าแผ่นดินจะเป็นผู้ทรงไถนาเองซึ่งต่างจากปัจจุบันที่มีพระยาแรกนา และได้ทราบว่าพระราชพืชมงคลเป็นในทางพระ พุทธศาสนา ส่วน จรดพระนังคัลแรกนาเป็นพิธีพราหมณ์ และถือว่าเป็นพระราชพิธีที่เป็นมงคล เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูการ ข้าวที่ปลูกอุดมสมบูรณ์ปราศจากศัตรูรบกวนและสร้างขวัญกำลังใจแก่ชาวนาอีกด้วย.

  

การ์เรียนเชิญเปิดและชมนิทรรศการ

การ์เรียนเชิญเปิดและชมนิทรรศการ
นิทรรศการตั้งแต่ ๑๕ พย.ถึง ๑๕ ธค.นี้

In this photograph if you know please tell me where they are ?

In this photograph if you know please tell me where they are ?
ภาพถ่ายชุดนี้ คุณพ่อผมถ่ายไว้เป็นจำนวนมากเมื่อ ไปอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณ หกสิบ ถึงเจ็ดสิบปีมาแล้ว ท่านเสียชีวิตไปปี ๒๕๑๓ เอกสารบางอย่างถูกน้ำถ่วมและสูญหาย ทำให้ไม่ทราบถึงสถานที่ในภาพ ถ้าหากท่านทราบกรุณาบอกผมด้วยขอบคุณครับ

In this photograph if you know pleas tell me where they are ?

In this photograph if you know pleas tell me where they are ?
รูปแกะสลักนี้ตั้งอยู่ที่ไหนครับทราบโปรดบอกด้วยครับขอบคุณครับ

Please tell me where they are ?

Please tell me where they are ?
รูปเหล่านี้เป็นเทพฯของอียิปต์ยุกต์โบราณ

Please tell me where they are ?

Please tell me where they are ?
หน้าจะเป็นเทพฯ หรือ ราชินีองค์หนึ่งในอียิปต์โบราณ ถ้าสรวมหมวกรูปบัลลังก์ จะป็นเทพไอซิส

Please tell me were they are ?

Please tell me were they are ?

Please tell me where they are ?

Please tell me where they are ?

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู้หัว

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู้หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพุทธเจ้าหลวง พระปิยมหาราช เทิดพระเกียรติในวาระ ๑๐๐ ปี วันสวรรคต ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓ (มีบทความด้านล่าง)

พระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมศพประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
๑๑๐ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์มิรู้ลืม ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า นายเบญจพล สิทธิประณีต.

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระโอรสธิดา

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระโอรสธิดา
สมเด็จย่าทรงกับพระโอรสธิดาครั้งทรงพระเยาว์

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐรามาธิบดินทร รัชการที่ ๘ สมเด็จย่า ฯ พระอนุชา

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐรามาธิบดินทร รัชการที่ ๘ สมเด็จย่า ฯ พระอนุชา
ในหลวงรัชการที่ ๘ สมเด็จย่า และพระอนุชา (ในหลวงรัชกาลที่ ๙)

ทรงงาน

ทรงงาน
พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ ๙ และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงงาน

สมเด็จแม่ฯ

สมเด็จแม่ฯ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙

สูจิบัตร นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๑๐๙ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์ มิรู้ลืม

สูจิบัตร นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๑๐๙ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์ มิรู้ลืม
นิทรรศการ ๑๐๙ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์ มิรู้ลืม ณ.ศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์(แพ บุนนาค) งานเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐๙ ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ (มีรูปงานนิทรรศการด้านล่าง)

My collection-ภาพเก่าเล่าอดีต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

My collection-ภาพเก่าเล่าอดีต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จพระราชดำเนินวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่(พ.ศ.2501)

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)
เสด็จพระราชดำเนินวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)
ทั้งสองพระองค์บริเวณบันไดนาควัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่

พระบัวเข็ม

พระบัวเข็ม
พระบัวเข็ม ที่บ้านจะมีจานเชิงใส่นำรองอยู่ด้านล่างองค์พระซึ่งทำจากไม้ลงรักปิดทอง

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
Tn the town by Vimol Siddhipraneet.

The way of life in u.s.a.

The way of life in u.s.a.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A

The way of life in U.S.A
In the town.

ภาพถ่ายในสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายในสหรัฐอเมริกา
ถ่ายโดย คุณพ่อวิมล สิทธิประณีต.เมื่อครั้งไปสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา
คุณพ่อวิมล สิทธิประณีต.ถ่าย เมื่อทำงานสำนักข่าวสารอเมริกัน

ภาพถ่ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
คุณพ่อวิมล สิทธิประณีต.ถ่าย ล้าง และอัดเอง ท่านมีห้องมืดที่บ้าน.