วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

           เนื่องในวโรกาส ๑๐๐ ปีวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๔๓ ที่จะถึงนี้ ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ผมจึงได้ขอยกเอาพระราชนิพนธ์บางตอนในเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือนที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สภานายกหอพระสมุดวชิรญาณทรงนิพนธ์คำนำไว้ว่าตอนหนึ่ว่า "การที่ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงพระราชทานให้ทันพิมพ์ทุก ๆ สัปดาหะ ลำบากพระราชอิริยาบถมิใช่น้อย ด้วยพระราชกิจต่าง ๆ มีมากอยู่เปนนิตย์ ทราบว่าโดยปรกติมักทรงพระราชนิพนธ์ในเวลาค่ำ เมือเสร็จทรงหนังสือราชการประจำวันแล้ว ก็ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ต่อไปจนพอคราวหนึ่ง ถ้าติดพระราชธุระถึงพระราชนิพนธ์คั่งค้างจนเร่งเรียกฉบับ บาททีก็ถึงต้องทรงละเว้นการสำราญพระราชอิริยาบถ ดังเช่นงดเสด็จประพาศ  เอาเวลามาทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเรืองนี้ก็มีเนือง ๆ ตั้งแต่เดือน ๑๒ ปีชวด (เพราะหอพระสมุดเปลี่ยนกรรมการใหม่เมื่อกลางเดือน ๑๑ ทุกปี) ทรงพระราชนิพนธ์มาจนถึงเดือน ๑๑ ปีฉลู แล้วติดพระราชธุระอื่นเสีย(ดูเหมือนเพราะต้องเสด็จไปหัวเมือง) พระราชนิพนธ์เรื่องนี้จึงขาดเรื่องพระราชพิธีเดือน ๑๑ อยู่เดือนหนึ่ง หามีเวลาที่จะทรงจนจบไม่ถึงกระนั้นที่ทรงแล้วเพียงใดก็บริบูรณ์ดีทุกตอน จึงนับได้ว่าเปนหนังสือสำเร็จเรื่องหนึ่ง "  จะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม้ทรงมีพระภาระกิจมากแต่ก็เอาพระทัยใส่ในเรืองงานที่ทรง และแม้ว่างานพระราชนิพนธ์แบบนี้ก็แสดงให้เห็นถึงพระอัฉริยภาพและทรงภูมิปัญญา ในพระราชพิธี ตั้งแต่อดีตครั้งสมัยอยุธยา ทรงพระพายามจะรักษาพราะราชพิธีและการปฏิบัติให้ถูกต้องตามแบบแผนดั้งเดิม ซึ่งถ้าหากเป็นในปัจจุบันสามัญชนก็เรียกได้ว่าเป็นงานสืบสานภูมิปัญญา ให้คงอยู่ต่อไป   ซึ่งในวาระ ๑๐๐ ปีแห่งวันสวรรคต นี้ ในฐานะครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ ๖ ของกระทรวงศึกษาธิการจึงไคร่ขอ นำพระราชนิพนธ์บางตอนมานำเสนอ เพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน ตามความที่ยกมานี้
ด้านหน้าปก
                                               เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน
            พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระรามาธบดีศรีสินทรมมหาจุฬาลงกรณ์
                                                 พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                               พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๖
                              ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์เปนของพรราชทาน
                           ในงานพระศพ พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ
                                                         ปีวอก พ.ศ. ๒๔๖๓
                                      พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไทย ถนนรองเมือง กรุงเทพฯ
ตอนที่ผมจะนำมาเสนออยู่ในหน้าที่ ๕๕๓ ถึงหน้า ๕๕๕ ว่าด้วยรูปพระบัวเข็ม
                          ยังมีพระพุทธรูปอีกอย่างหนึ่ง เปนของมาแต่เมืองมอญ พระมอญพอใจเอามาถวาย ตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๔ มาจนถึงในรัชกาลประจุบันนี้มีมากหลายองค์ เปนรูปพระเถระนั่งก้ม ๆ หน้า มีใบบัวคลุมอยู่บนศีศะ แลมีเข็มตุ้มปักตามหัวไหล่ตามเข่าหลายแห่งฐานรองนั้นเปนดอกบัวคว่ำดอกหนึ่ง หงายดอกหนึ่ง ใต้ฐานมีรูปดอกบัว ใบบัว เต่า ปลา ปู ปั้นนูน ๆ ขึ้นมา เปนพระทำด้วยแก่นพระศรีมกาโพธิลงรักปิดทองเบา ๆ ว่าเปนพระสำหรับขอฝน มีเรื่องราวนิทานได้ ยินพระบาสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล่าอยู่ แต่ข้าพเจ้าจำไม่ได้ ในท้องเรื่องนั้นก็คล้าย ๆ พระสุภูตะ ฤาภูติเถระนี้เอง ได้สอบถามพระสุเมธาจารย์ แจ้งว่าเปนรูปรพะสุภูติที่ขอฝนนั้นเอง เข็มตุ้มที่ปักอยู่ตามพระองค์ ซึ่งท่านเรียกว่าหมุดว่าเปนช่องที่บรรจุพระบรมธาตุ ฟังดูที่กล่าวนั้น ก็เคล้าเรื่องสุภูติอย่างไทย ๆ ไม่แปลกอะไร
                         แต่ได้สอบถามพระคุณวงษ์ แจ้งความไปคนละเรื่อง อ้างผู้ยกเล่ามีเรื่องราวยืดยาวว่า เมื่อท่านออกไปนมัสการพระบรมธาตุที่เมืองรางกูนกลับมาถึงวัดกะนอมซอน พักอยู่สองคืน ภิกษุพม่ารูปหนึ่งซึ่งอยู่ในวัดนั้น นำพระเช่นนี้มาให้องค์หนึ่ง พระนันทะยะสัทธิงวิหาริกของท่านได้ถามว่า พระเช่นนี้เรียกพระอะไร พระพม่านั้นบอกว่า เรียกพระทักขิณสาขา ได้มาจากเมืองอังวะ ผู้ถามจึงถามว่า เหตุใดจึงมีหมวกสวมอยู่บนศีสะ พระพม่าอธิบายว่า พระอุปคุตะเถระองค์นี้ อยู่ในปราสาทแก้วใต้น้ำ เดินไปในกลางฝนเหมือนอย่างมีร่มกั้นไม่เปียกกาย บางทีเห็นนั่ง ลอยขึ้นล่องแสงแดดไม่ต้องกาย มีคำกล่าวกันว่าชาวเมืองรางกูนผู้หนึ่ง ได้ตักบาตรพระอุปคุตแล้วได้เป็นเศรษฐี ชาวเมืองรางกูนทั้งปวงจึงพากันหุงเข้าแต่ยังไม่สว่าง คอยตักบาตรพระอุปคุตจนทุกวันนี้ก็ยังมี ความนับถือพระอุปคุตเช่นนี้แพร่หลายมากขึ้น แต่ไม่มีผู้ใดได้โอกาศตักบาตรพระอุปคุต จึงได้กล่าวว่า ถึงว่าไม่ตักบาตรแต่เพียงได้ทำสักการบูชา ก็จะมีผลานิสงษ์เหมือนกัน จึงได้พากันสร้างรูปพระอุปคุตขึ้นทำสักการยูชา ซึ่งทำเป็นใบบัวคลุมอยู่บนพระเศียรนั้น สมมุติว่าเปนเงาที่กันน้ำฝนแลแดดรูปเหมือนใบบัว พวกเมืองอังวะทราบเรื่องจึงเลียนไปทำแพร่หลายมากขึ้น
                          นัยหนึ่งว่าพระเจ้าอังวะองค์หนึ่ง ประสงค์จะใคร่สร้างพระพุทะรูปด้วยกิ่งพระศรีมหาโพธิ แต่มีความสงไสยอยู่ว่าจะควรฤาไม่ จึงให้ปรุชุมพระเถรานุเถระปฤกษา พระเถระทั้งปวงเห็นพร้อมกันว่าเปนการควร จึงได้แต่งบรรณาการให้อำมาตย์ ๘ คน กับไพร่ ๑๖๐ ให้ไปเชิญกิ่งพระศรีมหาโพธิที่ว่านี้ ดูทีเหมือนจะไปอินเดีย ก็พากันไปตายสูญเสียเปนอันมาก เหลือมา ๑๖ คน ไม่ได้พระศรีมหาโพธิมา จึงให้ไปเชิญกิ่งเบื้องขวาพระศรีมหาโพธิที่เมืองลังกาได้มาแล้ว ให้สร้างเปนพระพุทธรูปน่าตักกว้างศอกหนึ่ง เศษเหลือนั้นให้สร้างพระสาวก พระพุทธรูปที่มี ปลา ปู ดอกบัว อยู่ใต้ฐานนั้น สำหรับสังเกตว่าเปนรูปพระอุปคุต พระพุทธรูปเดิมนั้นสร้างด้วยทักขิณสาขาของพระศรีมหาโพธิจริง แต่ภายหลังมามีผู้สร้างมากขึ้นก็ใช้กิ่งไม้อื่นบ้าง ข้อความที่กล่าวมานี้ท่านทราบจากพระพม่ารูปนั้นบ้าง ที่ผู้ใหญ่เล่ามาแต่เดิมบ้างดังนี้
                         ฟังดูเรื่องที่เล่าก็เปนเฉียด ๆ ไปกับเรื่องเดิม อย่างไรจะถูกก็ตัดสินไม่ได้แน่ แต่พระเช่นนี้ใช้ตั้งในการพระราชพิธีฝนหลายองค์ยังรูปพระมหาเถรอีกองค์หนึ่ง ที่แขนเป็นลายรียาวเรียกว่าพระมหาเถรแขนลายก็เปนพระตั้งขอฝนอีก มีเรื่องราวเปนเกร็ด ๆ อย่างเดียวกันกับพระที่คลุมใบบัว ข้าพเจ้าจำไม่ได้เสียอีก จะถามผู้ใดก็ยังนึกหน้าไม่ออกว่าผู้ใดจะจำเรื่องราวได้ แต่พระองค์นี้อยู่ที่หอพระคันธารราษฏ์ท้องสนามหลวง เปนพระหล่อด้วยทองสำริดรมดำไม่ได้ปิดทอง
         ยังมีพระราชนิพนธ์ต่อไปอีกมากผมจะหาโอกาสนำมาเสนอให้ผู้สนใจต่อไปครับเพราะจะเกี่ยวพันกับพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ อีกหลายองค์ที่ใช้ในพระราชพิธีต่าง ๆ ครับ.
                         
                       
                                     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การ์เรียนเชิญเปิดและชมนิทรรศการ

การ์เรียนเชิญเปิดและชมนิทรรศการ
นิทรรศการตั้งแต่ ๑๕ พย.ถึง ๑๕ ธค.นี้

In this photograph if you know please tell me where they are ?

In this photograph if you know please tell me where they are ?
ภาพถ่ายชุดนี้ คุณพ่อผมถ่ายไว้เป็นจำนวนมากเมื่อ ไปอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณ หกสิบ ถึงเจ็ดสิบปีมาแล้ว ท่านเสียชีวิตไปปี ๒๕๑๓ เอกสารบางอย่างถูกน้ำถ่วมและสูญหาย ทำให้ไม่ทราบถึงสถานที่ในภาพ ถ้าหากท่านทราบกรุณาบอกผมด้วยขอบคุณครับ

In this photograph if you know pleas tell me where they are ?

In this photograph if you know pleas tell me where they are ?
รูปแกะสลักนี้ตั้งอยู่ที่ไหนครับทราบโปรดบอกด้วยครับขอบคุณครับ

Please tell me where they are ?

Please tell me where they are ?
รูปเหล่านี้เป็นเทพฯของอียิปต์ยุกต์โบราณ

Please tell me where they are ?

Please tell me where they are ?
หน้าจะเป็นเทพฯ หรือ ราชินีองค์หนึ่งในอียิปต์โบราณ ถ้าสรวมหมวกรูปบัลลังก์ จะป็นเทพไอซิส

Please tell me were they are ?

Please tell me were they are ?

Please tell me where they are ?

Please tell me where they are ?

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู้หัว

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู้หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพุทธเจ้าหลวง พระปิยมหาราช เทิดพระเกียรติในวาระ ๑๐๐ ปี วันสวรรคต ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓ (มีบทความด้านล่าง)

พระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมศพประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
๑๑๐ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์มิรู้ลืม ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า นายเบญจพล สิทธิประณีต.

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระโอรสธิดา

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระโอรสธิดา
สมเด็จย่าทรงกับพระโอรสธิดาครั้งทรงพระเยาว์

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐรามาธิบดินทร รัชการที่ ๘ สมเด็จย่า ฯ พระอนุชา

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐรามาธิบดินทร รัชการที่ ๘ สมเด็จย่า ฯ พระอนุชา
ในหลวงรัชการที่ ๘ สมเด็จย่า และพระอนุชา (ในหลวงรัชกาลที่ ๙)

ทรงงาน

ทรงงาน
พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ ๙ และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงงาน

สมเด็จแม่ฯ

สมเด็จแม่ฯ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙

สูจิบัตร นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๑๐๙ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์ มิรู้ลืม

สูจิบัตร นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๑๐๙ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์ มิรู้ลืม
นิทรรศการ ๑๐๙ ปี แสงรวีศรีนครินทร์รุ่งโรจน์ มิรู้ลืม ณ.ศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์(แพ บุนนาค) งานเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐๙ ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ (มีรูปงานนิทรรศการด้านล่าง)

My collection-ภาพเก่าเล่าอดีต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

My collection-ภาพเก่าเล่าอดีต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จพระราชดำเนินวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่(พ.ศ.2501)

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)
เสด็จพระราชดำเนินวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาท(พ.ศ.2501)
ทั้งสองพระองค์บริเวณบันไดนาควัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่

พระบัวเข็ม

พระบัวเข็ม
พระบัวเข็ม ที่บ้านจะมีจานเชิงใส่นำรองอยู่ด้านล่างองค์พระซึ่งทำจากไม้ลงรักปิดทอง

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
Tn the town by Vimol Siddhipraneet.

The way of life in u.s.a.

The way of life in u.s.a.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A.

The way of life in U.S.A.
In the town.

The way of life in U.S.A

The way of life in U.S.A
In the town.

ภาพถ่ายในสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายในสหรัฐอเมริกา
ถ่ายโดย คุณพ่อวิมล สิทธิประณีต.เมื่อครั้งไปสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา
คุณพ่อวิมล สิทธิประณีต.ถ่าย เมื่อทำงานสำนักข่าวสารอเมริกัน

ภาพถ่ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

ภาพถ่ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
คุณพ่อวิมล สิทธิประณีต.ถ่าย ล้าง และอัดเอง ท่านมีห้องมืดที่บ้าน.